การพัฒนาแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ไม่เลือกการบำบัดทดแทนไตต่อเนื่องในชุมชนตามบทบาทพยาบาลศูนย์ดูแลต่อเนื่อง โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • นงค์นุช โฮมหงษ์ โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
  • เพ็ญจันทร์ โฮมหงษ์ โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
  • ศิริวรรณ สิงหศิริ โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

คำสำคัญ:

โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย, ศูนย์ดูแลต่อเนื่อง, การพยาบาล

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและใช้รูปแบบแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ไม่เลือกการบำบัดทดแทนไตต่อเนื่องในชุมชนตามบทบาทพยาบาลศูนย์ดูแลต่อเนื่อง โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ทำการศึกษาในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน ปี 2566 กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้าย จำนวน 11 คน ญาติผู้ดูแล จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ไม่เลือกการบำบัดทดแทนไต แบบสัมภาษณ์ทีมสหสาขาวิชาชีพในการดูแลต่อเนื่องความต้องการรูปแบบแนวทางการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน แบบสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ภาคีเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ไม่เลือกการบำบัดทดแทนไต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ร้อยละ มัธยฐาน และเชิงคุณภาพในการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
     ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังได้รับบริการการดูแลต่อเนื่องแบบประคับประคองอย่างเหมาะสมตามระดับความรุนแรงการเจ็บป่วยและความต้องการการดูแลต่อเนื่อง ผู้ดูแล มีความรู้เกิดทักษะและมีความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ตรงตามความต้องการผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังโดยระดับความพึงพอใจต่อการดูแลต่อเนื่องที่ได้รับในภาพรวมในระดับสูงร้อยละ 86.96 มีความสามารถดูแลสุขภาพตนเองเพิ่มมากขึ้น จัดการภาวะแทรกซ้อนเบื้อต้นได้ เมื่อมีภาวะวิกฤตสามารถติดต่อโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที

References

นวลขนิษฐ์ ลิขิตลือ และคณะ. การพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย: นนทบุรี; 2556.

ศรีเพ็ญ สวัสดิมงคล. รายงานประจาปี 2558. โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์: นนทบุรี; 2559.

Uijena A, Schersa HJ, Schellevisb FG, van den Boscha JHM. How unique is continuity of care? A review of continuity and related concepts. Family Practice 2012; 29:264–271.

Waibel S, Henao,D, Aller M, Vargas I, Vázquez M. What do we know about patients’ perceptions of continuity of care? A meta-synthesis of qualitative studies. International Journal for Quality in Health Care 2012; 24(1):39–48.

Hennen B. K. E. Learning Continuity of Care. Can Fam Physician 1981;27:831-833

Freeman G, Shepperd S, Robinson I, EhrichK,Richards S. Continuity of Care: Report of a Scoping Exercise Summer 2000 for the SDO Programme of NHS R&D. London: NCCSDO, 2001.

โรงพยาบาลโพนพิสัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย. ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center (HDC). 2566.

พัชราภรณ์ เจนใจวิทย์. การพยาบาลครอบครัวที่มีสมาชิกเจ็บป่วยเรื้อรัง: ตอนที่ 1 แนวคิดการดูแลต่อเนื่อง. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ2017; 40( 3):138-147.

วันเพ็ญ นิคมรักษ์, พัชราภรณ์ เจนใจวิทย์. รายงานการศึกษาการพัฒนาระบบบริการการดูแลต่อเนื่องในครอบครัว. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2558; 38(1): 108-120.

กนก เจริญพันธ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 4. วารสารการพยาบาลสุขภาพและการศึกษา 2566;6(1): 55-64.

กชพร เขื่อนธนะ และคณะ. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนอำเภอเชียงกลางจังหวัดน่าน. วารสารวิชาการสาธารณสุข2562;28(2): 272-285.

ขนิษฐา แก้วกัลยา และคณะ. การพัฒนาแนวทางการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงจากโรงพยาบาลถึงบ้านโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม. วารสารการพยาบาลสุขภาพและการศึกษา 2566;6(1): 55-64.

มนต์รัตน์ ภูกองชัย และคณะ. การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยสูงอายุโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา 2561;5(1): 63-72.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30