การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางต่อเนื่องในชุมชน โดยใช้การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย เขตอำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
คำสำคัญ:
โรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง, การพยาบาลต่อเนื่องในชุมชน, การมีส่วนร่วมในภาคีเครือข่ายบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางต่อเนื่องในชุมชนโดยใช้การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย เขตอำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ทำการศึกษาในช่วงเดือน มกราคม-มิถุนายน ปี 2566 กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง จำนวน 145 คน ญาติผู้ดูแล จำนวน 145 คน ทีมสหวิชาชีพ จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสัมภาษณ์ทีมสหสาขาวิชาชีพและภาคีเครือข่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ร้อยละ มัธยฐาน และเชิงคุณภาพในการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการพัฒนารูปแบบพบว่ามีความพึงพอใจเพิ่มมากขึ้น ก่อนพัฒนาค่าคะแนน ADL เฉลี่ยก่อนพัฒนามีค่า 8.86 คะแนน ภายหลังการพัฒนามีค่า 9.50 คะแนน เมื่อทดสอบด้วยสถิติ paired t-test พบว่า คะแนนเฉลี่ย ADL ภายหลังการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางต่อเนื่องในชุมชนโดยใช้การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 2.84)
References
World Stroke Organization. (2022). The top 10 causes of death. Retrieved February 21, 2022, fromhttps://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/the-top-10-causes-of-death#.YhJBDXoc8HO.
กระทรวงสาธารณสุข กองยุทธศาสตร์ และแผนงาน. สถิติสาธารณสุข 2563. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2565, จากhttp://bps.moph.go.th/new_bps/.
สถาบันสรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ. แผนงานเพื่อพัฒนาบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ปีงบประมาณ 2565. นนทบุรี: คลินิกฟื้นฟูสมรรถภาพสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ; 2565.
โรงพยาบาลลำพูน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน. ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center (HDC). 2566.
ณัฐรดา ต้นอ้อย. การพัฒนาการบริการทางไกลในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในเขตอำเภอเมืองสระแก้ว. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว. 2566.
วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย และคณะ. การวิจัยและพัฒนาระบบการดูแลระยะกลางและระยะยาวในบริบทชีวิตวิถีใหม่ จังหวัดสงขลา. มูลนิธิภาคใต้ ร่วมกับ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2565.
ดารุณี โนนทิง. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง (Intermediate care) ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน และเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2566;8(1): 244-251.
ศีล เทพบุตร์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร. 2563;17(3): 112-124.
วีระศักดิ์ รัตนชัยฤทธิ์ และคณะ. การพัฒนารูปแบบการบริบาลฟื้นสภาพผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care : IMC) จากโรงพยาบาลสู่ชุมชนเครือข่ายบริการสุขภาพจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2565;15(2): 119-132.