การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพจิตในผู้สูงอายุในชุมชน อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • พีรสันต์ ปั้นก้อง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลตรอน (นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ)

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การสร้างเสริมสุขภาพจิต, กระบวนการมีส่วนร่วม, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุในชุมชน อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ประกอบด้วย Care manager, Care giver, ตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุข, ผู้นำชุมชน, และเจ้าหน้าที่จากเทศบาล, พมจ. และกศน. 5 คน ระยะเวลาดำเนินการเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 25567 ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก เวทีประชาคม เสวนากลุ่มย่อย การสังเกต และการถอดบทเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสถิติเชิงพรรณนา พบว่า รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพจิตในชุมชน อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ ประกอบด้วย 1) การเสริมสร้างความรู้โรคซึมเศร้าและการส่งเสริมสุขภาพจิต 2) บทบาทหน้าที่ของเครือข่ายแกนนำ 3) การค้นหา/คัดกรองผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า และ 4) การส่งต่อผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า เมื่อนำรูปแบบไปทดลองใช้พบว่า หลังการทดลอง 1) กลุ่มตัวอย่างมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังภาวะซึมเศร้าของประชาชนในพื้นที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) 2) ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองภาวะซึมเศร้าจากเครือข่ายแกนนำเพิ่มมากขึ้นจากร้อยละ 64.2 เป็นร้อยละ 92.5 3) ผู้สูงอายุมีภาวะซึมเศร้าเข้าถึงบริการเพิ่มมากขึ้นจาก ร้อยละ 42.1 เป็นร้อยละ 90.5

References

กรมสุขภาพจิต. (2561). ดูแล “ผู้เฒ่า” ห่างไกล “ซึมเศร้า” ไม่ล้ม ไม่ลืม. ค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2565,จาก: https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=27768

กรมสุขภาพจิต. (2562). สร้างจิตใจที่แจ่มใสให้ผู้สูงอายุด้วยกิจกรรมทางสังคม. ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2566, จาก: https://multimedia.anamai.moph.go.th/help-knowledgs/social-activities-for-elders/?fbclid=IwAR0XEZhB_STA2jNoT4kmW-_sVJHaez2dEESb2D8viouK5SX9-82f1iUg6YM

โรงพยาบาลเปาโลโชคชัย 4. (2561). โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ… อันตรายที่ใกล้แค่เอื้อม. ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2566, จาก: https://www.paolohospital.com/th-TH/chokchai4/Article/Details/อายุรกรรม/โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ…-อันตรายที่ใกล้แค่เอื้อม

จิรัชยา เคล้าดี, สุภชัย นาคสุวรรณ์ และจักรวาล สุขไมตรี. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารราชพฤกษ์, 15 (1), 27-32

พัชญา คชศิริพงศ์. (2553). ปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ศิริรำไพ สุวัฒนคุปต์ และบุรณี กาญจนถวัลย์. (2557). การศึกษาเปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้านพักของตนเองและผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้านคนชรา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. เวชศาสตร์ร่วมสมัย, 58 (3), 341-353

มุจรินทร์ พุทธเมตตา. (2557). ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าในเขตภาคกลาง. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

มาโนช หล่อตระกูล และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. (ม.ป.ป). แบบทดสอบภาวะซึมเศร้า PHQ-9. ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2563, จาก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี.

Cohen, J. M. Norman, T. and Uphoft, N.T. (N.d.). Rural development Participation: Concept and measures for project design implementation and evaluation. Rural Development Monograph No.2. Ithaca: Rural Development Committee Center for international Studies, Cornell University

นิพนธ์ ดาราวุฒิมาประกรณ์. (2552). รูปแบบการอยู่อาศัยที่ส่งผลต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในพื้นที่เฝ้าระวังทางประชากรกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต วิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30