การดำเนินงาน และปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลนาป่า อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • รัฐกานต์ พิพัฒน์วโรดม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ศูนย์อนามัยที่ 6 ชลบุรี กรมอนามัย
  • ทิพย์วรรณ จูมแพง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ศูนย์อนามัยที่ 6 ชลบุรี กรมอนามัย

คำสำคัญ:

การดำเนินงาน, ปัจจัยแห่งความสำเร็จ, ชมรมผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาการดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุ และ แรงจูงใจของผู้สูงอายุในการเข้าร่วมชมรมผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลนาป่า กลุ่ม ตัวอย่างคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์คุณสมบัติ จำนวน 40 คน เก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกวิธีการวิเคราะห์ใช้สถิติพรรณนา
     การศึกษา พบว่า การดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลนาป่า เป็นไปตาม POSDCoRB ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การวางแผนกิจกรรมโดยจัดประชุมคณะกรรมการฯ ในทุกเดือน 2) การจัดหน่วยงานมีการกำหนดมีโครงสร้างหน้าที่ประกอบด้วย 6 หน่วยงาน ได้แก่ ผู้บริหารเทศบาลตำบลนาป่า เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านท้องคุ้ง เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลนาป่า เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลนาป่า สมาชิกชมรมผู้สูงอายุและ คณะกรรมการบริหารชมรมผู้สูงอายุ 3) จัดบุคลากรเพียงพอและเหมาะสม 4) มีระบบการอำนวยการที่ดี มีการสั่งการและประสานางานไปยังฝ่ายต่างๆ ในการดำเนินงานได้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย 5) มีระบบการประสานงานที่ดีและมีช่องทางสื่อสารที่ทันสมัย 6) รายงานผลปฏิบัติงานทุกเดือน และ 7) งบประมาณสนับสนุนเพียงพอทั้งจากกองทุนตำบล ภาคเอกชน และจากภายในชมรมเอง สำหรับปัจจัยความสำเร็จการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลนาป่ามาจาก 3 ปัจจัย ได้แก่ 1) ด้านผู้นำชมรม มีภาวะผู้นำ มีจิตอาสา ความเสียสละ 2) งบประมาณ มีแหล่งทุนสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่างๆ 3) มีการประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน สำหรับแรงจูงใจ เข้าร่วมชมรมมาจาก ปัจจัยภายใน 3 ปัจจัย ได้แก่ ความต้องการ ทัศนคติ และความสนใจพิเศษ ปัจจัยภายนอก 5 ปัจจัย ได้แก่ การให้บริการตรวจสุขภาพ กองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์ การให้ความรู้ การประกวดแข่งขัน ได้รางวัล และการสนับสนุนเครื่องอุปโภคบริโภค

References

กองยุทธศาสตร์และแผน กระทรวงสาธารณาสุข.ศูนย์ข้อมูลสุขภาพ.นนทบุรี:กระทรวง; 2566 เข้าถึงได้จากhttps://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php HDC

กรมกิจการผู้สูงอายุ.ภาวะผู้สูงอายุมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาสูงอายุไทย.2565.กรุงเทพมหานคร:กรมกิจการผู้สูงอายุกระทรวงการพัฒนาสังคมละความมั่นคงของ [เข้าถึงเมื่อ 2 กรกฎาคม 2565] เข้าถึงได้จาก https://thaitgri.org/?p=40208

พรรณิภา บุญพิทักษ์. การพัฒนาเครือข่ายกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุในสังกัดสูงอายุแห่งประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต] .นครปฐม:มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558. [เข้าถึงเมื่อ 6 กันยายน 2566] เข้าถึงได้จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/thaijss/article/view/242865

สิริวัลลิ์ พฤกษอุดมชัย.ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุตำบลดอนแฝก จังหวัดนครปฐม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต] .กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยศิลปกร; 2560. [เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2565] เข้าถึงได้จาก http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/1051/1/57601722%2520

สวรรยา ธรรมอภิพลและคณะ.การบริหารจัดการปัจจัยความสำเร็จของชมรมผู้สูงอายุบ้านไร่แค จังหวัดเพชรบุรี.[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]เพชรบุรี:มหาวิทยาลัยศิลปกร; 2561. [เข้าถึงเมื่อ 8 ตุลาคม 2564] เข้าถึงได้จาก file:///C:/Users/DEMON/Downloads/_bird_mark,+Journal+manager,+23_A5-2.pdf

ณัฐธยาน์ รัตนินปฐมภัค.กลยุทธ์การบริหารงานบุคคลของโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญสังกัดสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดนครนายก. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต] .นครนายก:มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ; 2563. [เข้าถึงเมื่อ 12 มกราคม 2564] เข้าถึงได้จากfile:///C:/Users/DEMON/Downloads/_prawit27,+%7B$userGroup%7D,+7(1)2563+018

กนกวรรณ อินทร์น้อย.กระบวนการการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิ์ผลของโรงเรียนเอกชนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประทุมธานี เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต] .ประทุมธานี:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2563. [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2565] เข้าถึงได้จาก https://book.pbru.ac.th/multim/thesis/78563/78563-bib.pdf

จรรยา ตันเจริญ.ปัจจัยความสำเร็จของชมรมผู้สูงอายุบ้านไร่แค จังหวัดเพชรบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต].เพชรบุรี:มหาวิทยาลัยศิลปกร; 2561. [เข้าถึงเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2563] เข้าถึงได้จากfile:///C:/Users/DEMON/Downloads/_bird_mark,+Journal+manager,+23

อัษ แสนภักดี.รูปแบบของปัจจัยด้านการบริหารที่ส่งต่อประสิทธิผลของกีฬาเพื่อความเป็นเลิศในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ.จังหวัดพิษณุโลก. [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต] .พิษณุโลก:มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2558. [เข้าถึงเมื่อ 15 มิถุนายน 2559] เข้าถึงได้จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/254776

ปิยากร หวังมหาพร.ปัจจัยส่งผลต่อการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุในประเทศไทย กรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต] .กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยศรีประทุม; 2555. [เข้าถึงเมื่อ 20 มีนาคม 2563] เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/spu.ac.th/piyakorn-whspu-ac-th

ปพิชญา ศรีจันทรา.แรงจูงใจและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบริษัทขนส่งแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต].กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2563. [เข้าถึงเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2564] เข้าถึงได้จาก http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/879/1/gs601130385.pdf

สุรีรัตน์ กุมารี.การศึกษาลักษณะทางประชากร เศรษฐกิจ สังคมและแรงจูงใจต่อการเข้าชมรมผู้สูงอายุระหว่างพื้นที่ที่มีอัตราการเป็นสมาชิกชมรมสูงสุดกับต่ำสุด.กรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตวิทยาลัย] มหาวิทยาลัยมหิดล; 2560. [เข้าถึงเมื่อ 18 เมษายน 2562.] เข้าถึงได้จาก http://www.mis.ms.su.ac.th/MISMS01/PDF02/377_20190612_j_14.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30