ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • จุฑามาศ แก้วจันดี สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ Correspondence author
  • เบญญาภา หลงชิณ สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • รจรินทร์ สิทธิโสม สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการบริโภค, อาหารเสริม, นักศึกษาระดับปริญญาตรี

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารเสริมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ที่คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จำนวน 302 คน โดยใช้สูตรการคำนวณสูตรของ Wayne ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบ Multistage Random Sampling แบ่งสัดส่วนตามสาขา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม มีค่า IOC เท่ากับ 0.70 และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ p< 0.05  ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่าง เป็นเพศหญิง ร้อยละ 58.3 อายุเฉลี่ย 20.5 ปี (SD=0.96) กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 ร้อยละ 38.4 และรายได้ของท่านเฉลี่ยต่อเดือน <5,000 บาท ร้อยละ 60.3 กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ข้อมูลการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ (Mean=35.61, SD=5.54) ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารเสริมภาพรวมอยู่ในระดับสูง (Mean= 4.90, SD=1.60) และพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ (Mean=32.08, SD=4.82) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารเสริม พบว่า ปัจจัยด้านการเคยซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริม การเคยบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริม วิธีการใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม การเคยซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมให้ ตัวเอง/ผู้อื่น/ทั้งตัวเองและผู้อื่น และการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารเสริม และข้อมูลการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริม มีโอกาสในการมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารเสริม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value<0.05

References

Smith J. The rise of dietary supplements: Trends among young adults. Nutrition Today. 2019; 54(4): 186-192.

Johnson M, & Young S. Influence of social media on dietary supplement use among college students. Journal of Health Communication. 2020; 25(6): 567-580.

อมรชัย หาญผดุงธรรม [อินเตอร์เน็ต]. หมอชาวบ้าน [เข้าถึงเมื่อ 22 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.doctor.or.th/columnist/list/4121?vid=10

ศิวรักษ์ กิจชนะไพบูลย์. พฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์. 2555; 39 (ฉบับพิเศษ): 20.

Williams K. Potential health risks of dietary supplement overconsumption. American Journal of Public Health 2021; 111(3): 411-417

Wayne WD. Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences. 6 th ed. New York: John Wiley & Sons; 1995.

Cronbach LJ. Essential of psychology testing. New York: Harper; 1984.

ประภาศรี เพลงอินทร์. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนักของนักเรียนอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ [วิทยานิพนธ์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2566.

สุพัตรา บุตราช, สุพัชชา ศรีนา, ฐิรพร ไพศาล, เจนจิรา แสนสิทธิ์, พรรณธิภา จันทร์อ่อน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนักของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตเทศบาลนครอุดรธานี.วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2561; 33(3): 359-374.

กนกพร มณีมาส, ผกามาศ ไมตรีมิตร. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารอ้างสรรพคุณลดน้ำหนักของนักเรียนหญิงระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ:กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคราชบุรี. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2662; 11(4): 775-787.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30