การพัฒนากระบวนการบริหารจัดการยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ จังหวัดสระแก้ว

ผู้แต่ง

  • กัลยารัตน์ จตุพรเจริญชัย นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว
  • ทวีชัย สายทอง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว

คำสำคัญ:

การบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพ

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันกระบวนการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพ (2) เพื่อพัฒนากระบวนการจัดทำนโยบาย และแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ (3) เพื่อพัฒนากระบวนการนำแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพสู่การปฏิบัติ และกระบวนการควบคุม กำกับ ติดตามผลการดำเนินงาน (4) เพื่อพัฒนากระบวนการประเมินผลการบริหารแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ โดยใช้ CIPP Model ใช้แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก, แนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม และแบบสอบถามกระบวนการบริหารแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นทีมผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว จำนวน 134 คน สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
     ผลการศึกษา (1) ผลการศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันของกระบวนการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพ จังหวัดสระแก้ว เป็นผลสืบเนื่องจาก กระทรวงสาธารณสุขจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ระยะ 20 ปี (ด้านสุขภาพ) การปรับรูปแบบระบบบริหารภายใต้นโยบายกระทรวงสาธารณสุข และตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์เป้าหมาย ร้อยละ 60.00 ด้วยสาเหตุจากกระบวนการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพในหลายขั้นตอนที่ยังไม่สมบูรณ์ (2) ผลการพัฒนากระบวนการจัดการนโยบายแผนยุทธศาสตร์สุขภาพ จังหวัดสระแก้ว ด้วยการบูรณาการยุทธศาสตร์ทุกระดับ การจัดทำนโยบายและแผนยุทธศาสตร์สุขภาพโดยการวิเคราะห์ SWOT Analysis ภายใต้กรอบ Six building blocks การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาและถ่ายทอดนโยบายแผนยุทธศาสตร์สุขภาพแบบมีส่วนร่วม จัดเวทีให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำเสนอแผนยุทธศาสตร์สุขภาพ และการจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์สุขภาพ (3) ผลการพัฒนากระบวนการนำแผนยุทธศาสตร์สุขภาพสู่การปฏิบัติ จังหวัดสระแก้ว ด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติจัดทำแผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการ มาตรการ กิจกรรมหลัก โดยใช้แนวทาง PDCA การพัฒนาช่องทางการสื่อสาร เพื่อควบคุมกำกับประเมินผลยุทธศาสตร์ (4) การประเมินผลการพัฒนากระบวนการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพ จังหวัดสระแก้ว ด้วยการนิเทศงานสาธารณสุขผสมผสาน การประเมินผลโครงการ การดำเนินงานด้านสุขภาพ การกำหนดผู้จัดการยุทธศาสตร์ การพัฒนาโปรแกรมรายงานข้อมูลตามตัวชี้วัด HDC Web KPI เพื่อควบคุม กำกับ ประเมินผลแผนยุทธศาสตร์ และงบประมาณแบบ Real time (5) ความคิดเห็นต่อการพัฒนากระบวนการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพ พบว่า ระดับความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 81.33

References

กระทรวงสาธารณสข. แผนยุทธศาสตร์ ระยะ 20 ปี (ด้านสุขภาพ) พ.ศ.2560 - 2579. นนทบุรี : สำนักนโยบายและแผน กระทรวงสาธารณสข; 2559.

กัลยา วานิชย์บัญชา. สถิติสาหรับงานวิจัย.กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.

จินตนา บุญบงการ และณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์. การจัดการเชิงกลยุทธ์.กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น; 2546.

จิรประภา อัครบวร. ความรับผิดชอบต่อสังคม. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ; 2552.

วิโรจน์ สารรัตนะ. การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรต.(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อักษราพิพัฒน์; 2550.

สันติ ทวยมีฤทธิ์. การพัฒนากระบวนการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพ จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา:สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา; 2561.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว. ข้อมูลทั่วไป สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว. สระแก้ว: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว; 2566.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว. แผนยุทธศาสตร์สุขภาพ 20 ปี จังหวัดสระแก้ว พ.ศ. 2560 – 2579 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว. สระแก้ว: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว; 2560.

Daniel WW. Biostatistics: A Foundation for Analysis in the Health Sciences. (6th Eds.). Singapore: John Wiley & Sons; 1995.

Edward's W. Deming Institute.The PDSA Cycle systemic: steps for gaining valuable learning and knowledge for the continual improvement of a product or process. New York: Theories & Teachings; 2016.

Stufebeam, D. L., & Shinkeld, A. J. Evaluation Theory, Models & Applications. San Francisco, CA: Jossey-Bass; 2007.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30