การประเมินระบบเฝ้าระวังวัณโรคดื้อยา จังหวัดกาฬสินธุ์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 – 2566

ผู้แต่ง

  • กัลย์ เนื่องโพธิ์ โรงพยาบาลกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
  • กฤตนัน นิรงคบุตรสกุล โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

ประเมินระบบเฝ้าระวัง, วัณโรคดื้อยา, จังหวัดกาฬสินธุ์

บทคัดย่อ

     รายงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและทบทวนระบบเฝ้าระวังวัณโรคดื้อยา ในจังหวัดกาฬสินธุ์ และให้ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาระบบเฝ้าระวังวัณโรคดื้อยา จังหวัดกาฬสินธุ์ วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ Mixed methods แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบ ภาคตัดขวาง (Survey research by cross-sectional study) เพื่อศึกษาคุณลักษณะเชิงปริมาณของระบบเฝ้าระวัง โดยศึกษาข้อมูลผู้ป่วยที่มารับบริการในสถานพยาบาล 3 แห่งในจังหวัดกาฬสินธุ์ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2566 2) การศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative study) ศึกษาขั้นตอนการรายงาน และ คุณลักษณะเชิงคุณภาพ ของระบบเฝ้าระวังวัณโรคดื้อยา
     ผลการศึกษา: ระบบเฝ้าระวังวัณโรคดื้อยา มีค่าความไวของการรายงานตามนิยามโรคปี 2563 และแนวทาง การสอบสวนและควบคุมวัณโรคปี 2566 คิดเป็นร้อยละ 64.0 และค่าพยากรณ์บวกร้อยละ 100.0 ข้อมูลในระบบเฝ้าระวังโรคอาจไม่สามารถเป็นตัวแทนที่ดีของผู้ป่วยที่พบทั้งหมดจากการทบทวนเวชระเบียน สำหรับ คุณภาพข้อมูลพบว่าตัวแปรเพศ อายุ ที่อยู่ มีความถูกต้องร้อยละ 100.0 ส่วนตัวแปรที่เกี่ยวกับช่วงเวลา เช่น วันที่เอกซเรย์ วันที่ตรวจเสมหะ วันที่ขึ้นทะเบียน สถานะรักษา พบมีความถูกต้องน้อยกว่าร้อยละ 90.0 ส่วนความทันเวลาของการรายงาน พบว่ารายงานทันเวลาภายใน 5 วัน สำหรับคุณลักษณะเชิงคุณภาพพบว่า ขั้นตอนการปฏิบัติงานไม่ยุ่งยากและมีความยืดหยุ่น ได้รับการยอมรับและส่งผลให้มีความมั่นคงของระบบ ที่สามารถนําไปปรับใช้กับระบบเฝ้าระวังอื่นๆได้ แต่ด้วยภาระงานของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบหลัก จึงไม่สามารถ บันทึกข้อมูลได้ทันเวลา อีกทั้งยังไม่มีแนวทางการเฝ้าระวังวัณโรคดื้อยาที่ชัดเจนสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้อง สรุปและวิจารณ์: ระบบเฝ้าระวังวัณโรคดื้อยาของจังหวัดกาฬสินธุ์ พบค่าความไวของการรายงานอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง

References

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. นิยามโรคและแนวทางการรายงานโรคติดต่อ อันตรายและโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร:หจก.แคนนา กราฟฟิค: 2563. หน้า 78-80.

การเขียนวิธีการดําเนินงานการวิจัย [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2567]. แหล่งข้อมูล http://pioneer.net/serv.chula.ac.th/~jaimorn/re9.htm

สมาคมระบาดวิทยา. พื้นฐานระบาดวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี. โรงพิมพ์แคนนา กราฟฟิค. 2559

สํานักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการบริหารจัดการผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2567]. แหล่งข้อมูล https://www.tbthailand.org/download/DR-TB%20Proof%2023%20FINAL.pdf

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการสอบสวนและควบคุมวัณโรค [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2567]. แหล่งข้อมูล https://www.tbthailand.org/download/Manual/แนวทางการสอบสวนและควบคุมวัณโรค 2566.pdf

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. วัณโรค[อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2567]. แหล่งข้อมูล https://www.ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=105

รายงานผู้ป่วยวัณโรค [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2567]. แหล่งข้อมูล https://ntipapp.ddc.moph.go.th/ntip_frontend/TreatmentOutcome

ธีรารัตน์ พลราชม, เสรมสุข แก้วแคน. การประเมินระบบเฝ้าระวังวัณโรค อําเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ปีงบประมาณ 2560. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ประจําสัปดาห์ 2562; 50: S429-437.

ปิยะณัฐ บุญประดิษฐ์ . การประเมินระบบเฝ้าระวังวัณโรคปอด โรงพยาบาลราชบุรี จังหวัดราชบุรี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจําสัปดาห์ 2558; 46: 68-75.

สุดารัตน์ วิจิตรเศรษฐกุล, วรรณวิศา เอี้ยงทอง. การประเมินระบบเฝ้าระวังวัณโรคปอดในผู้ป่วยที่มีอายุ ตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลราชบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560-30 กันยายน 2561. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ประจําสัปดาห์ 2562; 50: S81-88.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30