การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ที่ได้รับการผ่าตัดและมีภาวะแคลเซียมต่ำ : กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
มะเร็งต่อมไทรอยด์, ภาวะแคลเซียมต่ำบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ที่ได้รับการผ่าตัดและมีภาวะแคลเซียมต่ำ ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 83 ปี มาโรงพยาบาลวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2566 มาด้วยอาการสำคัญ มีก้อนที่คอโตขึ้น กลืนลำบาก น้ำหนักลดลง 1 เดือน
ผลการศึกษา: วินิจฉัยมะเร็งต่อมไทรอยด์ แพทย์นัดมาเพื่อผ่าตัด ระยะก่อนผ่าตัด มีความวิตกกังวล ระยะหลังผ่าตัด เสี่ยงต่อภาวะอุดกั้นของทางเดินหายใจ มีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ปวดแผล เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่แผลผ่าตัด ได้วางแผนการพยาบาลเพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน หลังผ่าตัดผู้ป่วยสามารถถอดเครื่องช่วยหายใจได้ ให้การพยาบาลป้องกัน แก้ไขภาวะแคลเซียมต่ำจนระดับแคลเซียมปกติ ดูแลบาดแผลผ่าตัด แผลผ่าตัดแห้งดี ไม่ติดเชื้อ บรรเทาอาการปวดด้วยการบริหารยาและสอนการปฎิบัติตัว อาการผู้ป่วยดีขึ้นตามลำดับ จำหน่ายกลับบ้านวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2567 ผู้ป่วยนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลรวม 4 วัน
References
Auperin, A. (2020). Epidemiology of head and neck cancers: An update. Current Opinion in Oncology, 32(3), 178-186.
พิชิต สิทธิไตรย์. (2560) ตำราหู คอ จมูก สำหรับเวชปฏิบัติทั่วไป. ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เชียงใหม่.
Brady GC, Goodrich J, Roe JWG. (2019). Using experience-based co-design to improve the pre-treatment care pathway for people diagnosed with head and neck cancer.Support Care Cancer. https://doi.org/10.1007/s00520-019-04877-z.
American Thyroid Association. (2017). The Guidelines of the American Thyroid Association for the Diagnosis and Management of Thyroid Disease During Pregnancy and the Postpartum.; 27(3): 315-89.
พรชัย โอเจริญรัตน์. (2566). มะเร็งศีรษะและลำคอ. https://www.si.mahidol.ac.th/th/ healthdetail.asp?aid=695
ธารกมล อนุสิทธิ์ศุภการ. (2562). การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งต่อมไทรอยด์ที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน : กรณีศึกษา. โรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชสาร; 28(2): 49-60.
งานเวชระเบียน โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช. (2566). สถิติมะเร็งต่อมไทรอยด์ปี 2563-2565. โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช.
วรเวทย์ โรจน์จรัสไพศาล. (2562). การทำนายภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำหลังผ่าตัดไทรอยด์ โดยใช้แนวโน้มของระดับแคลเซียมในเลือด. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์; 32(2):69-78
Ahmad A, Khan HM, Chaudhry N, et al. (2016). Post thyroidectomy hypocalcemia-an audit of 100 cases. Annals of KEMC; 12(2): 285-7.
Wu J, Harrison B. (2010). Hypocalcemia after Thyroidectomy: The need for improved Definition. World J Endocr Surg; 2(1):17-20.