การพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในพื้นที่ตำบลบางพูน อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
ระบบการดูแลระยะยาว, ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, การมีส่วนร่วมของชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ความต้องการการดูแลระยะยาว 2) ศึกษาสภาพปัญหาการจัดบริการดูแลระยะยาว และ 3) พัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ตำบลบางพูน อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้สูงอายุ 220 คน ผู้ดูแล 100 คน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 40 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมินคุณภาพชีวิต และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์ความต้องการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในตำบลบางพูน จังหวัดปทุมธานี ผู้สูงอายุส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มติดสังคม มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง และไม่แสดงอาการซึมเศร้า อย่างไรก็ตาม มีผู้สูงอายุบางส่วนที่อยู่ในกลุ่มติดบ้านและมีความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ สภาพปัญหาในการจัดบริการดูแลระยะยาว คือข้อจำกัดด้านงบประมาณ การขาดแคลนบุคลากร และการเข้าถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ การพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวประกอบด้วยการสร้างเครือข่ายการดูแล การพัฒนาศักยภาพบุคลากร การจัดระบบการดูแลต่อเนื่อง การสร้างนวัตกรรมและสนับสนุนอุปกรณ์ การจัดตั้งกองทุนชุมชน และการพัฒนาระบบการเข้าถึงบริการฉุกเฉิน การพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในตำบลบางพูนเน้นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาคส่วน การพัฒนาศักยภาพบุคลากร และการสร้างนวัตกรรมที่เหมาะสมกับบริบทชุมชน ส่งผลให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่ครอบคลุมและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
References
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2559. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย; 2561.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ, กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: กองสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2564.
วิชาญ ชูรัตน์, คณะ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะเสี่ยงการมีปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ. วารสารประชากร. 2555;3(2):87-109.
สัมฤทธิ์ ศรีธํารงสวัสดิ์, กนิษฐา บุญธรรมเจริญ. การสังเคราะห์ระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย; 2553.
ศิราณี ศรีหาภาค, คณะ. สถานการณ์ปัญหา และความต้องการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชนภายใต้กองทุนระบบการดูแลระยะยาว จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2561;11(1):577-590.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือสนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.); 2559.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี. ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center (HDC) [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 12 ม.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php
ชวลิต สวัสดิ์ผล, คณะ. การดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 2560;5(พิเศษ):387-405.
Daniel WW. Biostatistics: Basic concepts and methodology for the health. [ไม่ระบุสถานที่พิมพ์]; 2010.
อนันต์ คำอ่อน. การพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงภายใต้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พื้นที่นำร่องอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. [ไม่ระบุสถานที่พิมพ์]: [ไม่ระบุสำนักพิมพ์]; 2565.
ชัยยา ปานันท์, บุญมา สุนทราวิรัตน์. ระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง: มุมมองผู้ให้บริการ. วารสารวิชาการสาธารณสุขกระทรวงสาธารณสุข. 2564;30(ฉบับเพิ่มเติม):87-101.
เด่นนภา ทองอินทร์. การพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของกองทุนดูแลผู้สูงอายุระยะยาว องค์การบริหารส่วนตำบลหันนางาม อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2563.
รุ่งลาวัลย์ รัตนพันธ์. การพัฒนาระบบการจัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 2564;15(37):250-261.
ศศินันท์ สายแวว. การพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2564.
Saito J, Haseda M, Amemiya A, Takagi D, Kondo K, Kondo N. Community-based care for healthy ageing: Lessons from Japan. Bull World Health Organ [Internet]. 2019 [cited (ไม่ระบุวันที่)];97(8):532–538. Available from: https://doi.org/10.2471/BLT.18.223057
Hasemann L, Lampe D, Nebling T, Thiem U, von Renteln-Kruse W, Greiner W. Effectiveness of a multi-component community-based care approach for older people at risk of care dependency - results of a prospective quasi-experimental study. BMC Geriatr [Internet]. 2022 [cited (ไม่ระบุวันที่)];22:Article 2923. Available from: https://doi.org/10.1186/s12877-022-02923-w
ปิยรัตน์ ยาประดิษฐ์, อรสา กงตาล. การพัฒนาการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ตำบลหนองสิม อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2563;40(3):48-65.