ผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ตามสุขบัญญัติแห่งชาตินักเรียนชั้น ป.6 ของโรงเรียนในเขตเทศบาลแห่งหนึ่ง จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
สุขบัญญัติแห่งชาติ, พฤติกรรมสุขภาพ, ความรอบรู้ด้านสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและ พฤติกรรมสุขภาพ ตามสุขบัญญัติแห่งชาตินักเรียนชั้น ป.6 ของโรงเรียนในเขตเทศบาลแห่งหนึ่ง จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน เป็น นักเรียนชั้น ป.6 ของโรงเรียนในเขตเทศบาลหนึ่ง กลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 30 คน เป็นนักเรียนชั้น ป.6 ของโรงเรียนในเขตเทศบาลอีกแห่งหนึ่ง รวม 60 คน เลือกแบบเจาะจง ระยะเวลา 6 สัปดาห์ ระหว่างเดือนกันยายน 2566 - ธันวาคม 2566 เก็บข้อมูลแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ ของนักเรียนของกองสุขศึกษากระทรวงสาธารณสุข ปี 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า ทั้งสองกลุ่มส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง และมีอายุ 12 ปี เมื่อเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ย พบว่ากลุ่มทดลองมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p < .05)
References
กระทรวงสาธารณสุข. การสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทย อายุ 15 ปี ขึ้นไป พ.ศ. 2562. พิมพ์ครั้งที่ 1 บริษัทห้างหุ้นส่วนจำกัด ฟันฟีพับบลิชซิ่ง .นนทบุรี
กองสุขศึกษา. การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. ฉบับปรับปรุง. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ , กระทรวงสาธารณสุข; 2561
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. กลยุทธ์การสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บริษัท สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพ) จำกัด. 2561.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. โปรแกรมสุขศึกษาเพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ. นนทบุรี.2562.
กองสุขศึกษากรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. สร้างการเรียนรู้ สร้างสุขภาพ : บทเรียนจากโรงเรียน.นนทบุรี: กองสุขศึกษากรมสนับสนุนบริการ กระทรวงสาธารณสุข.2560.
กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข.คู่มือ การพัฒนายุวอาสาสมัครสาธารณสุข. 2563. มปทมปป.[อินเตอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อ 26 เม.ย.65].เข้าถึงได้จาก (http://www.hed.go.th/slidePictur
อังศินันท์ อินทรก าแหง, 2559. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: การวัดและการพัฒนา. การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพในชุมชน. [อินเตอร์เน็ต]. 2559. [เข้าถึงเมื่อ 28 เม.ย. 66]. เข้าถึงได้จาก: file:///C:/Users/WIN- 7/Downloads/23032017200053794_news.pdf.
ศศิธร ตันติเอกรัตน์(2563) ศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการสนับสนุนทางสังคมของนักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกิน อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล ปีที่ 36 ฉบับที่ 2 (2020): พฤษภาคม-สิงหาคม 2563
วรยาน, สากร กรุงไกรเพชรและสุวรรณา จันทร์ประเสริฐ (2563) ศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตนต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพและพฤติกรรมตามสุขบัญญัติแห่งชาติของนักเรียนประถมศึกษากลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 (2020): มกราคม-เมษายน 2563
วุฒิพงศ์ ธนะขว้าง. ประสิทธิผลโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพการดูแลสุขภาพช่องปากในสามเณร โรงเรียนพระปริยัติธรรม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน .วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม 2564. หน้า 1 – 11.
วุฒิพงษ์ ฆารวิพัฒน์ (2565) ศึกษารูปแบบการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ ในนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 4 เฉลิมพระเกียรติ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 (2022)