การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งช่องปากบริเวณเหงือกที่มีแผลทะลุแบบประคับประคอง: กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
การพยาบาล, มะเร็งช่องปากบริเวณเหงือกที่มีแผลทะลุ, การดูแลแบบประคับประคองบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งช่องปากบริเวณเหงือกที่มีแผลทะลุและได้รับการดูแลแบบประคับประคอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพยาธิสภาพ การดำเนินของโรค แนวทางการรักษา แนวทางให้การพยาบาล การประเมินภาวะสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน วิเคราะห์ข้อมูลของเนื้อหา แสดงสภาวะการเจ็บป่วยตามกระบวนการพยาบาล 5 ขั้นตอน
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยมีปัญหาการรับรู้เกี่ยวกับสุขภาพและการดูแลสุขภาพ ด้านโภชนาการและการเผาผลาญสารอาหาร ด้านกิจวัตรประจำวันและการออกกำลังกาย ด้านการพักผ่อนนอนหลับ ด้านการรู้จักตนเองและอัตมโนทัศน์และการปรับตัวเผชิญกับความเครียด พยาบาลได้วางแผนประสานกับทีมสหวิชาชีพและเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มีการประสานข้อมูลจากหน่วยบริการสาธารณสุขอย่างมีประสิทธิภาพและมีกิจกรรมเสริมพลังอำนาจผู้ป่วยและครอบครัวที่เป็นรูปธรรม
References
National Cancer control Programmes. (2560). แผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร. Retrieved from http://www.nci.go.th/th/File_download/ D_index/NCCP_2556-2560.
ชวลิต เลิศบุษยานุกูล. (2560). มะเร็งคอหอยหลังโพรงจมูก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ เอสออฟเซ็ทกราฟฟิคดีไซน์.
พิชิต สิทธิไตรย์. (2562). มะเร็งศีรษะและลำคอ. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่ : คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จิระพงษ์ อังคะรา. (2561). ตำราโสต ศอ นาสิกวิทยา. คณะแพทยศาสตร์วชิระพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. กรุงเทพฯ. 604หน้า.
โรงพยาบาลหนองม่วง . (2565). ข้อมูลรายงานประจำเดือนโรงพยาบาลหนองม่วง หน่วยงานผู้ป่วยนอก, ผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลหนองม่วง
อรนันท์ หาญยุทธ. (2565). กระบวนการพยาบาล : ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัท ธนอรุณการพิมพ์ จำกัด.
Gordon, M. (1994) Nursing Diagnosis: Process and Application, 3d Ed. St. Louis: Mosby from Gordon, M. (1994). Nursing diagnosis: Process and application (3rd ed.). St. Louis: Mosby
Orem, D. E. (2001). Nursing: Concepts and Practice (6thed.). St. Louis, MO: Mosby.