การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการระบบรับรองคุณภาพของบุคลากรโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม จังหวัดนครพนม
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, เจตคติ, และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการระบบรับรองคุณภาพของบุคลากรโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม จังหวัดนครพนม ผู้เข้าร่วมงานวิจัยจำนวน 234 ราย สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วน วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแควร์และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียสัน ผลการวิจัยพบว่าการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการระบบรับรองคุณภาพของบุคลากรโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม จังหวัดนครพนม อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 24.9 ปานกลาง ร้อยละ 60.7 และระดับน้อย ร้อยละ 14.4 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการระบบรับรองคุณภาพของบุคลากร ได้แก่ เพศ (= 7.05) ประเภทการจ้างงาน (= 8.28) ลักษณะงาน (= 12.56) การเป็นคณะกรรมการทีมพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล (= 10.76) ได้รับมอบหมายหน้าที่พิเศษนอกเหนือจากงานประจำ (= 10.41) เจตคติต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการระบบรับรองคุณภาพ (r= 0.314) และการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร (r = 0.630)
References
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. สรุป Thailand 4.0 ด้านสาธารณสุข; 2560.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ 2562 [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 30 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จากhttps://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/MOPH 2019 brochureV10.pdf
พิทภรณ์ พลโคต. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การมีส่วนร่วมกับการพัฒนาคุณภาพบริการโรงพยาบาลของบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดหนองคาย. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2563;6: 50–59.
วงจันทร์ เดชทองทิพย์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของพยาบาลวิชาชีพในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา 2563;3:38–45.
Cohen, J.M. & Uphoff, N.T. Participation’s place in rural development: Seeking clarity through specificity. ScienceDirect 1980; 8(3): 213–235.
Sarnoff, I. Social Attitudes and the Resolution of Motivational Conflict. In M. Jahoda, & N. Warren (Eds.), Attitudes (pp. 279-284). Harmondsworth:Penguin; 1970.
Bloom BS. Taxonomy of education objective: The classification of educational goals: Handbook II: Affective domain. New York: David Mckay; 1964.
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม. งานข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ. 2566
กฤติณัฎฐ์ นวพงษ์ปวีณ. การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลเจ้าพระยาชมราช จังหวัดสุพรรณบุรี [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น; 2563.
Daniel, W.W. Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Science. Edited by 9. New York: John Wiley & Sons Ltd; 2010.
Little, R.J.A., & Rubin, D.B. Statistical analysis with missing data (2nd ed.). New York: John Wiley & Sons Ltd; 2002.
Best, J. W. Research in Education (3rded.). New Jersey: Prentice Hall, 1977.
Hinkle, D.E. Applied Statistics for the Behavioral Sciences. Boston : Houghton Mifflin. 1998.
ความแตกต่าง 10 ข้อระหว่างชายและหญิงที่ทุกคนควรทำความเข้าใจ. [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2566] เข้าถึงจาก : https://www.wegointer.com/2017/10/difference-between-men-and-women.
เมธี สุทธศิลป์, อลงกรณ์ ศรีเลิศ และประภาพร คำแสนราช. การมีส่วนร่วมของบุคลากรสาธารณสุขในการบริหารงานของสาธารณสุขอำเภอในจังหวัดสุโขทัยและความสัมพันธ์กับปัจจัยบางประการ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น 2565; 3(1) : 17-33.
สมมิตร สิงห์ใจ, นิตยา เพ็ญศิรินภา และพาณี สีตกะลิน. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล บรรยากาศองค์การ กับการมีส่วนร่วมในการบริหารความเสี่ยงของบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดเชียงใหม่. พยาบาลสาร 2559; 43(ฉบับพิเศษ) : 162-172.
Hussein M., Milena P. and Wim G. An evaluation of the driving and restraining factors affecting the implementation of hospital accreditation standards: A force field analysis. International Journal of Healthcare Management 2023; 16(2): 167-175.
รัชนี หลงสวาสดิ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพในโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล 2563; 5(3) : 1-16.