ประสิทธิผลของการใช้น้ำมันกัญชาทางการแพทย์โรงพยาบาลดอนตูม

ผู้แต่ง

  • วิทูร อุปริกธาติพงษ์ เภสัชกรชำนาญการ โรงพยาบาลดอนตูม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม

คำสำคัญ:

กัญชาทางการแพทย์, การประเมินและติดตามอาการผู้ป่วย, คุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ประสิทธิผลของการใช้น้ำมันกัญชาทางการแพทย์ของผู้ป่วยคลินิกกัญชาโรงพยาบาลดอนตูม โดยสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 126 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณและสถิติเชิงอนุมาน

     ผลการศึกษาพบว่าการประเมินและติดตามอาการผู้ป่วยด้วย Edmonton Symptom Assessment System (ESAS)ในกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการใช้กัญชาทางการแพทย์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ คลื่นไส้ วิตกกังวล เบื่ออาหาร ความไม่สบายทั้งกายและใจนอนไม่หลับส่วนคุณภาพชีวิตมีคะแนนอรรถประโยชน์เฉลี่ย 0.92±0.04 และพบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคะแนนอรรถประโยชน์มีความสัมพันธ์ ดังสมการ คะแนนอรรถประโยชน์ = 0.834+0.71(เพศ)-0.71(อายุ)+0.93(อาชีพ)-6.051E-7(รายได้)-0.75(โรคประจำตัว)+0.156(กลุ่มอาการมะเร็ง)+0.090(กลุ่มอาการนอนไม่หลับ)+0.111(กลุ่มอาการปวดเรื้อรังทุกชนิด)+0.008(ขนาดยาที่ใช้) ซึ่งพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อคะแนนอรรถประโยชน์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p-value<0.05) ได้แก่ เพศชาย อาชีพ และกลุ่มที่ใช้กัญชาทางการแพทย์สำหรับรักษาโรงมะเร็งและจากการศึกษาผลกระทบจากการใช้กัญชาทางการแพทย์พบว่า ส่วนใหญ่มีอาการเวียนศีรษะ (ร้อยละ 9.5) รองลงมาคืออาการคลื่นไส้อาเจียน(ร้อยละ 4.8),ปวดท้อง(ร้อยละ 0.8), และจุกแน่น(ร้อยละ 0.8) ตามลำดับ

     จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการใช้กัญชาทางการแพทย์ และมีคุณภาพชีวิตค่อนข้างดี ในด้านผลกระทบจากการใช้กัญชาทางการแพทย์นั้นส่วนใหญ่เป็นอาการที่ผู้ป่วยสามารถทนได้ ไม่พบอาการที่รุนแรง

References

กรมการแพทย์. คำแนะนำการใช้กัญชาทางการแพทย์ [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมการแพทย์; 2564 [อัพเดตเมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2564; สืบค้นเมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2566]. จาก:https://mnfda.fda.moph.go.th/narcotic/ wp-content/uploads/2021/04/Guidance-Updated-v-update-V.4260464.pdf

National Institute on Drug Abuse. (2018). Marijuana as medicine. AccessedOctober 19. Available from: https://www.drugabuse.gov/publications/drugfacts/marijuana

คณะอนุกรรมการพิจารณาข้อมูลเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์. คำแนะนำสำหรับแพทย์ การใช้กัญชาทางการแพทย์ [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: แพทยสภา; 2562 [สืบค้นเมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2566]. จาก:https://tmc.or.th/pdf/fact/guideline_cannabis_101062.pdf

จันทนา พัฒนเภสัช, มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์. แบบสอบถาม EQ-5D-5L ฉบับภาษาไทย [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ; 2560 [สืบค้นเมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2566]. จาก:https://www.hitap.net/wp-content/uploads/2014/11/Thai5L_brief_Aug2017.pdf

สิน พันธ์พินิจ. เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2547.

ปิยวรรณ เหลืองจิรโณทัย. ประสิทธิผลของสารสกัดกัญชา คลินิกกัญชาทางการแพทย์ โรงพยาบาลลำปาง [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [สืบค้นเมื่อวันที่ ก.ค. 2566]. จาก:http://db.hitap.net/articles/3246

ภาวิณี อ่อนมุก, ศุภะลักษณ์ ฟักคำ. ความคาดหวังและความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย ในหน่วยบริการของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารญสุข [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2564 [สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2566]. จาก:http://www.journalgrad.ssru.ac.th/index.php/8thconference/article/view/2371

บุญทิวา สู่วิทย์, สุณี พนาสกุลการ, เบญญาภา มุกสิริทิพานัน. การประเมินอาการที่ก่อใหัเกิดความทุกข์ทรมานในผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง [อินเทอร์เน็ต]. สงขลา: ว.พยาบาลสงขลานครินทร์;2558 [สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2566]; 35(1): 153-164. จาก:https://he02.tci-thaijo.org/index.php/nur-psu/article/download/33107/28147/74276

พรพิมล เลิศพานิชม, ภัทรานิษฐ์ เมธีพิสิษฐ์, วัชรินทร์ วุฒิรณฤทธิ์, ศุภรัตน์ แป้นโพธิ์กลาง, อำภาพร นามวงศ์พรหม. ความสัมพันธ์ของความรุนแรงของอาการที่พบบ่อยทางคลินิกกับความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม [อินเทอร์เน็ต]. สงขลา: ว.พยาบาลสงขลานครินทร์;2564 [สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2566]; 41(3): 1-12. จาก:https://he02.tci-thaijo.org/index.php/nur-psu/article/download/ 202016/171843/909325

ภักศจีภรณ์ ขันทอง. ความคาดหวังและความพึงพอใจของประชาชนตอคุณภาพการบริการของคลินิกแพทย์แผนไทย [อินเทอร์เน็ต] . อุบลราชธานี: ศรีวนาลัยวิจัย;2561 [สืบค้นเมื่อ 2 ก.ค. 2566]; 8(2): 75-84. จาก:http://journalrdi.ubru.ac.th/article_files/1548830755.pdf

Cervantes J. The cannabis encyclopedia : the definitive guide to cultivation & consumption of medical marijuana. Vancouver: Van Patten Publishing; 2015.

วิธวินท์ ฝักเจริญผล วรยศ ดาราสว่าง. (2566). ผลการใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ต่ออาการไม่สุขสบายและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะประคับประคอง. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ปีที่ 38 ฉบับที่ 1 53 - 62

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-04

How to Cite

อุปริกธาติพงษ์ ว. (2023). ประสิทธิผลของการใช้น้ำมันกัญชาทางการแพทย์โรงพยาบาลดอนตูม. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 8(4), 11–19. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/268800