การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน : กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
โรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน, การพยาบาลโรคหลอดเลือดสมอง, กระบวนการพยาบาลบทคัดย่อ
กรณีศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มารับบริการในระยะเฉียบพลัน โดยเปรียบเทียบจากกรณีศึกษาจำนวน 2 ราย เลือกแบบเจาะจงจากผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองในระยะเฉียบพลันมีอาการภายใน 4.5 ชั่วโมง โดยใช้แนวคิดการประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน เพื่อค้นหาปัญหาและความต้องการของผู้ป่วย นำมาปฏิบัติตามกระบวนการพยาบาล 5 ขั้นตอน 1) การประเมินปัญหาและความต้องการ (Assessment) 2) การวินิจฉัยการพยาบาล (Nursing Diagnosis) 3) การวางแผนการพยาบาล (Nursing care plan) 4) การปฏิบัติการพยาบาล (Nursing Intervention) 5) การประเมินผลการปฏิบัติการพยาบาล (Evaluation)
ผลการศึกษาพบว่า : การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาที่หน่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น ผู้ป่วยได้รับการคัดกรองโดยใช้ B-E-F-A-S-T และการเข้ารับการรักษาในช่องทางด่วน Stroke fast track เป็นผู้ป่วยส่งตัวมาจากโรงพยาบาลชุมชนและมีโรคร่วม กับผู้ป่วยสูงอายุที่มาเองโดยไม่ได้เข้าระบบช่องทางด่วน Stroke fast track ได้รับการจัดการภาวะแทรกซ้อนในภาวะฉุกเฉินที่รวดเร็วปลอดภัย รักษาโดยการให้ยาละลายลิ่มเลือด rt-PA ทั้ง 2 ราย ให้การพยาบาลภาวะแทรกซ้อนก่อนและหลังได้รับยาละลายลิ่มเลือด ได้รับการดูแลต่อเนื่องจากทีมสหสาขาวิชาชีพ ประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาลผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นและจำหน่ายกลับบ้าน โดยส่งต่อโรงพยาบาลชุมชนและนัดติดตามดูอาการต่อเนื่อง
References
กรรณิการ์ คงบุญเกียรติ, นรงฤทธิ์ เกษมทรัพย์และสมศักดิ์ เทียมเก่า. (2561). การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง: เวชปฏิบัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น:คลังนานาวิทยา.
จุฑาธิป ลิ้มคุณากูล. (2560). คนไทยบริโภคเกลือสูง เสี่ยงเป็นโรคเรื้อรัง. [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 30 ธ.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก : https://www.thaihealth.or.th
เจียมจิต แสงสุวรรณ. (2541). โรคหลอดเลือดสมอง: การวินิจฉัยและการจัดการทางการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: ศิริภัณฑ์ออฟเซ็ท.
นิตยา พันธุเวทย์ และธิดารัตน์ อภิญญา. (2555). ประเด็นสารรณรงค์วันอัมพาตโลก. [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 29 ธ.ค. 2565].เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/document/file/download/knowledge/KMNCD%20_magazine-Vol.1.pdf
นิพนธ์ พวงวรินทร์. โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke). 2544 . พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์
ปรมาภรณ์ คลังพระศรี. (2563). การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด : กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 17(3),119-130
พรรณวลัย ผดุงวณิชย์กุล. (2558). โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke). [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 2 ม.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.med.nu.ac.th/dpMed/fileKnowledge/106_2017-08-19.pdf
พวงทอง ไกรพิบูลย์. (2563). หัวใจขัด (Heart block). [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 29 ต.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://haamor.com/หัวใจขัด
ศูนย์ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์งานเวชระเบียนและสถิติ. สรุปสถิติผู้ป่วยปี 2563-2566 : โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
สมศักดิ์ เทียมเก่า. การพัฒนาระบบบริการเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าสู่ stroke fast track. (2564). [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 20 พ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://cimjournal.com/confer-update/system-stroke-fast-track/
สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข. (2562). แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สําหรับพยาบาลทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: บริษัทธนาเพรสจำกัด
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2564). โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ความรู้สำหรับผู้ปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน. 2564. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี : บริษัท อัลทิเมท พริ้นติ้ง จำกัด
อรนันท์ หาญยุทธ. (2557). กระบวนการพยาบาลและการนำไปใช้. วารสารพยาบาลทหารบก. 15(3),137-143.
อาภรณ์ คำก้อน.(2566). การตรวจทางระบบประสาท 1. [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 13 ม.ค. 2566]. เข้าถึงได้ จาก: https://ns.mahidol.ac.th/english/th/departments/MN/th/km_Nervous_system1.html
World Stroke Organization [WSO]. About World Stroke Day [Online]. 2019 [cited 07 May 2020]; Available from: https://ncdalliance.org/news-events/news/world strokeday2019