การพยาบาลการให้การระงับความรู้สึกหญิงตั้งครรภ์นอกมดลูกแตกที่มีภาวะช็อก : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • วนิษฐา แผ่นศิลา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์

คำสำคัญ:

ระงับความรู้สึก, ตั้งครรภ์นอกมดลูก, ภาวะช็อก

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพยาบาลการให้การระงับความรู้สึกผ่าตัดหญิงตั้งครรภ์นอกมดลูกแตกที่มีภาวะช็อก เป็นการศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลการให้การระงับความรู้สึกหญิงตั้งครรภ์นอกมดลูกแตกที่มีภาวะช็อกที่เข้ารับการรักษาโดยการผ่าตัดในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ ระหว่างเดือนเมษายน 2565 ถึงเดือน สิงหาคม 2566 จำนวน 2 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูล จากเวชระเบียน ผู้ป่วยใน การสัมภาษณ์ญาติ การสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์เปรียบเทียบ แบบแผนสุขภาพ พยาธิสภาพ อาการ และอาการแสดง การรักษาภาวะช็อกจากการสูญเสียเลือดปริมาณมาก ปัญหาและข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล การพยาบาลในระยะ วิกฤต ระยะการดูแลต่อเนื่อง และระยะการวางแผนจำหน่าย

     กรณีศึกษารายที่ 1 หญิงไทย อายุ 35 ปี ไม่เคยมีบุตร มาโรงพยาบาล ด้วยอาการปวดทั่วท้องก่อนมา 2 ชั่วโมง ร่วมกับมีคลื่นไส้อาเจียน 3ครั้ง แรกรับที่ห้องฉุกเฉิน ผู้ป่วยซีด เหนื่อยอ่อนเพลียมาก กดเจ็บทั่วท้องจากผลการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงพบของเหลวในช่องท้อง พบการตั้งครรภ์จากการตรวจปัสสาวะ ความดันโลหิต 77/47 มิลลิเมตรปรอท ชีพจร 112 ครั้ง/นาที หายใจ 22 ครั้ง/นาที อุณหภูมิ 37.1องศาเซลเซียส ท้องแน่นตึง ความเข้มข้นเม็ดเลือดแดง ร้อยละ 27.6 สูตินรีแพทย์มาประเมินอาการวินิจฉัยว่าตั้งครรภ์นอกมดลูกแตก set ผ่าตัดด่วน โดยให้การระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย ผลการผ่าตัดพบท่อรังไข่ข้างซ้ายแตก ทำการผ่าตัด ตัดท่อนำไข่ข้างซ้ายออก มีเลือดออกในช่องท้อง 2,000 มิลลิลิตร ได้ให้เลือดทดแทนก่อนผ่าตัด 3 unit ในระหว่างผ่าตัด จำนวน 2unit หลังผ่าตัดอาการปกติแพทย์ให้กลับบ้านสรุปนอนโรงพยาบาล 3 วัน นัดฟังผล ตรวจชิ้นเนื้ออีก 4 สัปดาห์ ผู้ป่วยมาตามนัด ผลชิ้นเนื้อมีการแตกของท่อนำไข่

     กรณีศึกษารายที่ 2 หญิงไทยอายุ 36 ปี มาด้วยอาการปวดหน่วงท้องน้อย วิงเวียนหน้ามืดก่อนมา 4 วัน 1 วันก่อนมาปวดท้อง มากขึ้น วิงเวียนหน้ามืด วูบไม่อาเจียน ไม่มีไข้ ตรวจการตั้งครรภ์เอง ผลการตรวจพบว่าตั้งครรภ์ (แถบตรวจพบ 2 ขีด) ประจำเดือนไม่มา 1เดือน มีบุตร 1 คน บุตรอายุ 14 ปี ไม่ได้ คุมกำเนิด มาประมาณ 4 ปีจาก ผลการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงพบของเหลวในช่องท้อง พบการตั้งครรภ์จากการตรวจปัสสาวะ ไม่มีไข้ ท้องอืดเล็กน้อย ความดันโลหิต 88/60 มิลลิเมตรปรอท ชีพจร 100 ครั้ง/นาที หายใจ 20ครั้ง/นาที อุณหภูมิ 36.9องศาเซลเซียส ความเข้มข้นเม็ดเลือดแดง ร้อยละ 25.5 วินิจฉัยเบื้องต้นท้องนอกมดลูกแตก และมีภาวะช็อกสูตินรีแพทย์ set ผ่าตัดด่วนโดยให้การระงับความรู้สึกแบบทั่วตัว และ ผลการผ่าตัด ท่อนำไข่ข้างขวาแตก ทำการผ่าตัด ตัดท่อนำไข่ออกทั้ง 2 ข้าง(ท่อนำไข่ข้างซ้ายบวมจำเป็นต้องตัดออก ซึ่งได้แจ้งญาติรับทราบ) เสียเลือดทั้งหมด 1,300 มิลลิลิตร การรักษาได้ให้เลือดทดแทนในขณะผ่าตัด จำนวน 2 unit ให้ยาฆ่าเชื้อ สารน้ำ อาการปกติแพทย์ให้กลับบ้านสรุปนอนโรงพยาบาล 3 วัน นัดฟังผลตรวจชิ้นเนื้อ 4 สัปดาห์ ผู้ป่วยมาตามนัดฟังผลชิ้นเนื้อ พบมีการแตกของท่อนำไข่และมีการอักเสบของท่อนำไข่ทั้ง 2 ข้าง

References

ปริญญา ราชกิจ. การตั้งครรภ์นอกมดลูกในโรงพยาบาลลำปลายมาศ.วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ-สุรินทร์-บุรีรัมย์ ; 2560

เฟื่องลดา ทองประเสริฐ . ภาวะฉุกเฉินทางสูตินรีเวชกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่ : ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ;2557

มานี รักษาเกียรติศักดิ์ และคณะ. ตำราวิสัญญีพื้นฐานและหน่วยงานปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ;2560

คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ. การคัดเลือกยาสาขาวิสัญญีวิทยาและการระงับปวด. พิมพ์ครั้งที่ 1 . กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ;2558

วิชัย อิทธิชัยกุลฑล. ตำราฟื้นฟูวิชาการวิสัญญีวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บริษัท ส.เอเชียเฟรส จำกัด ;2558

อังกาป ปราการัตน์. ตำราวิสัญญีวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : 10-พลัสพริ้น;2556

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite

แผ่นศิลา ว. (2023). การพยาบาลการให้การระงับความรู้สึกหญิงตั้งครรภ์นอกมดลูกแตกที่มีภาวะช็อก : กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 8(4), 303–310. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/269324