การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะถดถอยทางกายของจังหวัดสระบุรี
คำสำคัญ:
รูปแบบการบริหารจัดการ, ระบบดูแลสุขภาพ, ผู้สูงอายุ, ภาวะถดถอยทางกายบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลแบบผสมผสานวิธีครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะถดถอยทางกายของจังหวัดสระบุรี แบ่งการศึกษาเป็น 3 ระยะ ศึกษาระหว่างเดือนมกราคม – กรกฎาคม 2566 กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเลือกแบบเจาะจงและสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะถดถอยทางกายของจังหวัดสระบุรี มี 6 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างข้อตกลงความร่วมมือร่วมของ 3 องค์การหลัก (ภาครัฐ, ภาคประชาชน, ภาคท้องถิ่น) 2) การเชื่อมโยงภารกิจของภาคีเครือข่ายทุกระดับ 3) การกำหนดนโยบายหลักและนโยบายสนับสนุนระดับท้องถิ่น 4) การบูรณาการทรัพยากรและศักยภาพของเครือข่าย 5) การสร้างสังคมรอบรู้ตลอดชีวิต และ 6) การสร้างคุณภาพชีวิตแบบไร้รอยต่อให้กับผู้สูงอายุ โดยภาพรวมรูปแบบฯ มีความเหมาะสมด้านประโยชน์ (= 4.04, S.D. = 1.55) และความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปใช้ปฏิบัติจริง (
= 3.93, S.D. = 1.29) โดยรวมในระดับมาก พื้นที่บริบทสังคมเมืองและสังคมชนบทมีความคิดเห็นด้านประโยชน์และการนำรูปแบบมาใช้ไม่ต่างกัน
References
WHO. Ageing and health [Internet]. 2022 [cited 2022 January 3]. Available from: https://www.who.int/news-room /fact-sheets/detail/ageing-and-health.
กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ. แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2566 - 2570) [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 15 ม.ค. 2566]. เข้าถึงจาก https://humanrights.mfa.go.th/upload/nationalhumanrightsplan5.pdf
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. จับตาสถานการณ์ประชากรสูงอายุทั่วโลกและไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 3 ม.ค. 2566]. เข้าถึงจาก https://infocenter.nationalhealth.or.th/node/27613
กรมอนามัย. รายการข้อมูลสถานการณ์สุขภาพของผู้สูงอายุ [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 4 ม.ค. 2566]. เข้าถึงจาก https://dopah.anamai.moph.go.th/web-upload/8x6b2a6a0c1fbe85a9c274e6419fdd6071/tinymce/KPI2564/KPI121 /25640112111.pdf
กุลธิดา กุลประฑีปัญญา, วิรดา อัศวเมธากุล, ปรางทิพย์ ทาเสนาะ เอลเทอร์, จามจุรี แซ่หลู่, เพ็ญนภา พิสัยพันธุ์, อรัญญา นามวงศ์. สถานการณ์ภาวะสุขภาพผู้สูงอายุในสังคมไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น 2563; 17(2): 581-595.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด ณ.วันที่ 31 ธันวาคม 2565 [อินเตอร์เน็ต]. 2565[สืบค้นเมื่อ 4 ม.ค. 2566]. เข้าถึงจาก Available from: https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/1766
เปรมวดี สาริชีวิน และยอดชาย สุวรรณวงษ์. การศึกษาสถานการณ์สุขภาพและการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันภาวะถดถอยทางกายในผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม จังหวัดสระบุรี, วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง 2563; 5(2):129-151.
กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี. สรุปผลการถอดบทเรียนการดำเนินงานผู้สูงอายุของเครือข่ายสุขภาพจังหวัดสระบุรี. การประชุมคณะกรรมการบริหารงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี (SHB) ประจำเดือนมิถุนายน 2565 (หน้า 13-16). สระบุรี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี; 2565.
กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี. สรุปผลการนิเทศประเมินงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี ประจำปี 2566. การประชุมสรุปผลการนิเทศประเมินผลงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี รอบที่ 1 วันที่ 27 มกราคม 2566 : ประเด็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจังหวัดสระบุรี (หน้า 73-76). สระบุรี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี; 2566.
Creswell J W..A concise introduction to mixed methods research. Michigan: Sage Publications; 2015.11. Emet GUREL, Merba TAT. SWOT ANALYSIS: A THEORETICAL REVIEW. The Journal of International Social Research 2017; 10(51): 994-1006.
Erlingsson, C., & Brysiewicz, P. A hands-on guide to doing content analysis. African Journal of Emergency Medicine 2017; 7(3): 93-99.
Keeves PJ. “Model and Model Building.” In: Keeves PJ, edited. Educational Research Methodology and Measurement: An International Handbook. Oxford: Pergamon Press; 1988.
Miller, M. J. Reliability and Validity [Internet]. 2013 [cited 2022 January 3]. Available from: http://michaeljmillerphd.com/res500_lecturenotes/reliability_and_va lidity.pdf.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement 1973; 30(3): 607-10.
จำรัส ประสิว, และวิสุทธิ์ สุกรินทร์. การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ในจังหวัดสระบุรี. วารสารการแพทย์และสาธารณสุขเขต 4 2562; 9(1): 11-22.
บัวพา บัวระภา, ชัยยง ขามรัตน์, และอัจฉรา จินวงษ์. รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยชุมชนตำบลสร้างก่ออำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยการพยาบาลและสุขภาพ (Journal of Nursing and Health Research) 2559; 17(2): 50-70.
นิธิรัตน์ บุญตานนท์. กระบวนการและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือระดับพื้นที่ในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2566; 17(1): 56-72.
ศศิธร สุขจิตต์, จงรัก ดวงทอง, และวรวุฒิ ธุวะคำ. รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชน ตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน 2563; 3(2): 109-118.
นัฐฐาพร โพธิ์รักษา, ภมร ขันธะหัตถ์, และธนิศร ยืนยง. การบริหารและการพัฒนาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดสระบุรี. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2566; 17(2): 13-28.
กมลชนก ภูมิชาติ, ปรีชา สามัคคี, และลัญจกร นิลกาญจน์. รูปแบบชุมชนต้นแบบที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ. วารสารอินทนิลทักษิณสาร (INTHANINTHAKSIN JOURNAL) 2561; 13(1): 115-131.
ศรีสุดา วงศ์วิเศษกุล, พิไลพร สุขเจริญ, และสมจิตร์ พยอมยงค์. (2560). รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัย มสด สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2560; 10(2): 153-173.
ชัยวัฒน์ เอี่ยมประภาศ. ผลสัมฤทธิ์ในการจัดสวัสดิการสังคมให้กับผู้สูงอายุของเทศบาล ในภาคตะวันตกของประเทศไทย. วารสารราชนครินทร์ 2561; 15(4): 39-51.
ธิดารักษ์ ลือชา, และธีระภัทรา เอกผาชัยสวัสดิ์. การจัดระบบดูแลผู้สูงอายุตามแนวคิดการปกครองแบบร่วมมือ : กรณีการสร้าง ความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรภาคเอกชน. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2565; 9(2): 274-294.