การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับรังสีรักษาระยะใกล้โดยการใส่แร่ด้วยสารกัมมันตรังสีชนิดอัตราแผ่ปริมาณรังสีสูง: กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย
คำสำคัญ:
การพยาบาล, มะเร็งปากมดลูก, ใส่แร่สารกัมมันตรังสีชนิดอัตราแผ่ปริมาณรังสีสูงบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับรังสีรักษาระยะใกล้โดยการใส่แร่ด้วยสารกัมมันตรังสี ชนิดอัตราแผ่ปริมาณรังสีสูง
วิธีการศึกษา : การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบเฉพาะเจาะจงรายกรณี ในผู้ป่วยผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับรังสีรักษาระยะใกล้โดยการใส่แร่ด้วยสารกัมมันตรังสี ชนิดอัตราแผ่ปริมาณรังสีสูง งานผู้ป่วยนอกรังสีรักษา โรงพยาบาลขอนแก่น ศึกษาในช่วงพฤษภาคม 2565 ถึง สิงหาคม 2566 จำนวน 2 รายโดยใช้แนวคิดการประเมินภาวะสุขภาพตาม 11 แบบแผนของกอร์ดอน เก็บรวบรวมข้อมูล ประวัติการเจ็บป่วย การรักษา และการพยาบาลจากเวชระเบียน นำมาสู่กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อให้บรรลุผลลัพธ์ มาวิเคราะห์ กำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาลวางแผนการพยาบาล ปฏิบัติการพยาบาล ประเมินและสรุปผล
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับรังสีรักษาระยะใกล้โดยการใส่แร่ด้วยสารกัมมันตรังสี ชนิดอัตราแผ่ปริมาณรังสีสูงทั้ง 2 ราย ประเมินภาวะสุขภาพแนวคิดการประเมินตาม 11 แบบแผนของกอร์ดอน พบว่ามีข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลเหมือนกันทั้งหมด 12 ข้อ ระยะก่อนการใส่แร่ด้วยสารกัมมันตรังสี ชนิดอัตราแผ่ปริมาณรังสีสูง จำนวน 2 ข้อ ระยะขณะการใส่แร่ด้วยสารกัมมันตรังสี ชนิดอัตราแผ่ปริมาณรังสีสูง จำนวน 3 ข้อ ระยะหลังการใส่แร่ด้วยสารกัมมันตรังสี ชนิดอัตราแผ่ปริมาณรังสีสูง จำนวน 7 ข้อ ทำให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนครอบคลุมและเป็นองค์รวม และแนวคิดทฤษฎีการสร้างพลังอานาจของกิ๊บสัน (Gibson) มาเป็น
แนวทางในการวางแผนการพยาบาล ทำให้สามารถวางแผนการพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
ศรีชัย ครุสันธ์.(2558).การรักษามะเร็งด้วยวิธีฝังแร่และใส่แร่.(พิมพ์ครั้งที่1). โรงพิมพ์อุบลกิจ ออฟเซท การพิมพ์.
อิ่มสำราญ ว.โรคมะเร็งปากมดลูก. หนังสือการแพทย์ไทย 2558-2561 (Thailand Medical Services profile :TMSP 20).2.
ศิริอร สินธุ.(2565).การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดและรังสีรักษา.(พิมพ์ครั้งที่1). วัฒนาการพิมพ์.
เต็มศักดิ์ พึ่งรัศมี. (2546). เอกสารการสอนเรื่อง รังสรักษาในมะเร็งปากมดลูก. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Wollschlaeger, K., Connell, P.C., Waggoner,S., Rotmensch, J., & Mundt, A. J. (2000). Acute during low-dose-rate intracavitary brachytherapy for cervical carcinoma. Joumal of Gynecologic Oncology, 76, 67-72.
Novetsky, A. P., Einstein, M. E., Goldberg. G. R., Hailpem, S. M., Landau, E, Fields, A A,etal. (2007). ENicacy and toxicity of concomitant cisplatin with exiemal beam pelvic radiotherapy and two high dose rale brachytherapy insertions for the treatment of locally advanced cervical cancer. Joumal of Gynecologic Oncology. 105, 635-640.
Patel, F. D. Rai, B. Mallick, L, & Sharma, S. C. (2005). Iigh-dosc-rate brachytherapy in uterine cervrical carcinoma. Intemational Joumal of Radiation Oncology Blology Phyaia, 62. 125-130.
กานตรัชน์ โรจนพันธ์ ,อังกาบ แสนยันต์. 2560.การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากที่ได้รับรังสีรักษาระยะใกล้ด้วยสารกัมมันตรังสีอัตราปริมาณรังสีสูง.วารสารรังสีวิทยาศิริราช, 4(1),24-38.
นันทนา ธนาโนวรรณ.(2553).ตำราการพยาบาลนรีเวช(ฉบับองค์รวม). (พิมพ์ครั้งที่1).วี.พริ้นท์.
ประจวบ หนูอุไร.2553.ความปวด การจัดการความปวด และกวามต้องการการช่วยเหอือในการบรรเทาปวดของผู้ป่วยมะเร็งปากมดถูกขณะได้รับการรักษาโดยการใส่แร่กัมมันตรังสี ชนิดอัตราแผ่ปริมาณรังสีสูง.(ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิด (การพยาบาลผู้ใหญ่)มหาวิทยาลัยสงขถานครินทร์)
ยุพิน เพียรมงคล.(2553). การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก.(พิมพ์ครั้งที่1). บริษัท นันทพันธ์พริ้นติ้ง จำกัด.