กรณีศึกษา: การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วไปเพื่อผ่าตัดเนื้องอกในสมองที่มีภาวะอ้วน

ผู้แต่ง

  • อุไรรัตน์ ศรีพุ่ม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม

คำสำคัญ:

การพยาบาลด้านวิสัญญี, การผ่าตัดเนื้องอกสมอง, การระงับความรู้สึกสำหรับผู้ป่วยอ้วน

บทคัดย่อ

     การผ่าตัดเนื้องอกสมอง อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อสมองโดยตรงได้ การระงับความรู้สึกในผู้ป่วยผ่าตัดสมอง นอกจากจะทำให้ผู้ป่วยหลับ จำไม่ได้ ไม่ขยับระหว่างการผ่าตัด และการรักษาอาการปวดหลังผ่าตัดแล้ว ต้องเฝ้าระวังการบาดเจ็บจากการผ่าตัดหรือเกิดความแทรกซ้อนจากการผ่าตัดน้อยที่สุด ดังนั้นวิสัญญีผู้ให้การระงับความรู้สึกจึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องสรีรวิทยาของสมองและพยาธิสรีรวิทยาของภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงเป็นอย่างดี เพื่อให้คงระดับปริมาณเลือดไปเลี้ยงสมองให้เพียงพอระหว่างผ่าตัด ลดการบาดเจ็บของระบบประสาท นอกจากนี้วิสัญญียังมีบทบาทในการจัดท่า การให้สารน้ำ การเฝ้าระวังเรื่องการไหลเวียนเลือดระหว่างผ่าตัด และการดูแลระยะหลังผ่าตัด

     ผลการศึกษาสำหรับกรณีศึกษา พบว่าจากการประเมินพบปัญหาก่อนการระงับความรู้สึกได้แก่ ผู้ป่วยมีภาวะอ้วน (BMI 37.59) มีเนื้องอกที่สมองก้อนขนาดใหญ่ (4.8x5.8x4.4 ซม.) ตรง Right sphenoid meningioma ระหว่างระงับความรู้สึกมีปัญหาเรื่องเกิดสมองบวม ผ่าตัดนาน และเสียเลือดระหว่างผ่าตัดมาก 2400 มล. หลังระงับความรู้สึกผู้ป่วยต้องคาท่อหายใจดูแลต่อยังหอผู้ป่วยหนัก ภายหลังผ่าตัด 1 วันผู้ป่วยอาการดี ไม่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง จึงได้รับการถอดท่อหายใจและย้ายไปยังหอผู้ป่วยสามัญ ได้รับอนุญาตให้กลับบ้านได้ ในวันที่ 7 หลังผ่าตัด รวมวันนอนโรงพยาบาลทั้งหมด 9 วัน ผลการศึกษาที่ได้สามารถนำไปใช้สำหรับผู้ป่วยที่มารับบริการระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดสมอง และปรับใช้สำหรับผู้ป่วยกลุ่มอื่นที่ไม่ใช่ผู้ป่วยเนื้องอกสมองที่มารับบริการระงับความรู้สึกได้

References

Flexman, Alana M.; Wang, Tianlong; Meng, Lingzhong (2019). Neuroanesthesia and outcomes. Current Opinion in Anaesthesiology, 32(5), 539–545. doi:10.1097/aco.0000000000000747

สถาบันประสาทวิทยา. (2557). แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเนื้องอกสมอง สำหรับพยาบาลทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 1. สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. บริษัท ธนาเพรส จำกัด. กรุงเทพฯ.

โตญาติมาก ภ., อุทริยะประสิทธ์ เ., ฉันท์เรืองวณิชย์ ว., & สิทธินามสุวรรณ บ. (2019). Factors Predicting Cognitive Impairment in Postoperative Brain Tumor Patients. The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council, 34(4), 64–79. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/182776

มานี รักษาเกียรติศักดิ์ และวรรณฉัตร กระต่ายจันทร์. (2560). การระงับความรู้สึกศัลยกรรมระบบประสาท. ตำราวิสัญญีพื้นฐานและหน่วยงานปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่1. พี เอ ลีฟวิ่ง. กรุงเทพฯ.

Siegel RL, Miller KD, Jemal A. Cancer statistics. (2018). CA Cancer J Clin 2018; 68(1): 7-30.

Gordon, M. (1994). Nursing diagnosis: Process and Application. New York: McGraw-Hill.

Orem DE. Nursing: concepts of practice. 6th ed. Saint Louis: Mosby; 2001.

ณัฐกานต์ หุ่นธานี. ระบบประสาทวิทยาพื้นฐานและการระงับความรู้สึก. ใน: ศิริวรรณ จิรสิริธรรม, บรรณาธิการ.ตำราวิทยาศาสตร์พื้นฐานวิสัญญีวิทยา.กรุงเทพ: โครงการตำรารามาธิบดีคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล; 2559. หน้า 69-82.

Echeverría, M., Fiorda-Diaz, J., Stoicea, N., & Bergese, S. D. (2017). Emergence From Anesthesia. Essentials of Neuroanesthesia, 247–254. doi:10.1016/b978-0-12-805299-0.00013-0

มิ่งขวัญ วงษ์ยิ่งสิน. (2562). การระงับความรู้สึกผู้ป่วยโรคอ้วน. ก้าวไกลวิสัญญี 4.0 เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่1. ราชวิยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย. ธนาเพรส จำกัด. กรุงเทพฯ.

ศศิธร วัดศรี.(2566). การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองและได้รับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ ที่ต้องดูแลเป็นพิเศษที่บ้าน: กรณีศึกษา. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 8(1) 185-97

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite

ศรีพุ่ม อ. (2023). กรณีศึกษา: การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วไปเพื่อผ่าตัดเนื้องอกในสมองที่มีภาวะอ้วน. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 8(4), 593–602. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/269481