การพัฒนาระบบบริหารคลังเวชภัณฑ์ยา โรงพยาบาลท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ปีงบประมาณ 2565-2566

ผู้แต่ง

  • ลักขณา รินทะไชย เภสัชกรชำนาญการ โรงพยาบาลท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

การพัฒนา, ระบบบริหารคลังเวชภัณฑ์ยา

บทคัดย่อ

     การศึกษา การพัฒนาระบบบริหารคลังเวชภัณฑ์ยา โรงพยาบาลท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระบบบริหารคลังเวชภัณฑ์ยา โรงพยาบาลท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ และเพื่อศึกษาการพัฒนาระบบบริหารคลังเวชภัณฑ์ยา โรงพยาบาลท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีระยะเวลาในการศึกษา ระหว่างตุลาคม 2564 – เดือน กันยายน 2566 รวม 24 เดือน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ จำนวนรายการยาและเวชภัณฑ์ โรงพยาบาลท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ระหว่างเดือน ตุลาคม 2564 – เดือน กันยายน 2566 รวม 24 เดือนเก็บข้อมูลจากฐานข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดย การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t – test

     ผลการศึกษา พบว่า ผลการดำเนินงานจากการตรวจนับคงคลังยาย่อยหลังดำเนินการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  มีการตรวจนับคงคลังยาย่อย เดือนละ 3 ครั้ง โดยรายการที่ตรวจนับ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 374.72 รายการ รายการที่ไม่ตรงตามจำนวนที่ตรวจนับ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.80 รายการ ร้อยละความคลาดเคลื่อน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.22  ส่วน ผลการดำเนินงานการตรวจนับคงคลังยาใหญ่ เดือนละ 1 ครั้ง โดยรายการที่ตรวจนับ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 133 รายการ รายการที่ไม่ตรงตามจำนวนที่ตรวจนับ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.42 รายการ ร้อยละความคลาดเคลื่อน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.33 และการเปรียบเทียบจำนวนรายการที่ไม่ตรงตามจำนวนที่ตรวจนับและร้อยละความคลาดเคลื่อน ปีงบประมาณ 2565 และ 2566 พบว่า คลังยาย่อย ปีงบประมาณ 2565 และ 2566 พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่ ปี 2566 มีจำนวนรายการที่ไม่ตรงตามจำนวนที่ตรวจนับและร้อยละความคลาดเคลื่อน ลดลงจากปี 2565 ส่วน คลังยาใหญ่ ปีงบประมาณ 2565 และ 2566 พบว่า จำนวนรายการที่ไม่ตรงตามจำนวนที่ตรวจนับไม่มีความแตกต่าง ส่วนร้อยละความคลาดเคลื่อน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่ ปี 2566 ร้อยละความคลาดเคลื่อน ลดลงจากปี 2565

References

นันท์นภัส ฟุ้งสุข อัษฎางค์ พลนอก .การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารคลังเวชภัณฑ์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสาร มฉก.วิชาการ ปีที่ 21 ฉบับที่ 41 กรกฎาคม - ธันวาคม 2560

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2565). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2565 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. https://spd.moph.go.th/wp-content/uploads/2023/05/edit-plan_OPS-65-for-web.v2.pdf

สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล. (2564). มาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรมโรงพยาบาล พ.ศ.2561-2565. [เข้าถึงเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihp.org/wp-content/uploads/2022/06/มาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรมโรงพยาบาล_2561-2565ปรับ270918.pdf

ณัษฐ์พงษ์ พัฒนพงศ์. (2558) การบริหารเวชภัณฑ์และปัจจัยที่มีต่อประสิทธิภาพการดำเนินการตามมาตรการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาลจังหวัดพัทลุง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ปีที่2 ฉบับที่3 กันยายน - ธันวาคม 2558 1-20

วันชัย วัฒนศัพท์ ถวิลวดี บุรีกุล เมธิศา พงษ์ศักดิ์ศรี. (2551). คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน

การตัดสินใจที่ดีกว่าโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม. แปลโดย. ขอนแก่น : โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ ออฟเซ็ท.

นฤมิตร อินทุยศ นุศราพร เกษสมบูรณ์ (2556) การพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารคลังเวชภัณฑ์ด้วยวิธีการจัดการคลังสินค้าโดยคู่ค้าแบบประยุกต์ กรณีศึกษาสถานีอนามัยลูกข่ายโรงพยาบาลคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 7(2) 241-51

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite

รินทะไชย ล. (2023). การพัฒนาระบบบริหารคลังเวชภัณฑ์ยา โรงพยาบาลท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ปีงบประมาณ 2565-2566. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 8(4), 834–841. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/269776