การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดเต้านมแบบถอนรากชนิดดัดแปลง:กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • เยาวมาลย์ พุทธา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

กระบวนการพยาบาล, การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดเต้านมแบบถอนรากชนิดดัดแปลง

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดเต้านมแบบถอนรากชนิดดัดแปลง เก็บข้อมูลโดยการ สัมภาษณ์ผู้ป่วยและครอบครัว โดยประเมินผู้ป่วยตามกรอบการประเมินภาวะสุขภาพ 11 แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน ปฏิบัติการพยาบาลตามแนวคิดกระบวนการพยาบาล ในการกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล สรุปและประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล ระยะเวลาศึกษาเดือนสิงหาคม – ธันวาคม 2566

     ผลการศึกษา จากการศึกษากรณีศึกษาทั้งสองราย ได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งเต้านม กรณีศึกษารายที่ 1 หญิงไทย อายุ 64 ปี เป็นมะเร็งเต้านมระยะที่ 1 ส่วนรายที่ 2 อายุ 35 ปี เป็นมะเร็งเต้านมระยะที่ 2 กรณีศึกษาทั้งสองราย ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดเต้านมแบบถอนรากชนิดดัดแปลง ผลลัพธ์การพยาบาล พบว่ากรณีศึกษาทั้ง 2 ราย ทุกปัญหาได้รับการแก้ไข ดูแลรักษาจนกระทั่งอาการดีขึ้น แพทย์อนุญาตให้กลับบ้าน กรณีศึกษารายที่ 1 มีระยะเวลานอนรักษาในโรงพยาบาลรวม 8 วัน และนัดติดตามผลหลังการรักษาพร้อมผลชิ้นเนื้อที่ส่งตรวจ 2 สัปดาห์ ทั้ง 2 ราย ส่วนกรณีศึกษารายที่ 2 มีระยะเวลานอนรักษาในโรงพยาบาลรวม 9 วัน แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านโดยยังใส่ท่อระบายน้ำเหลืองและขวดระบายสุญญากาศ นัดติดตามผลและถอดท่อระบายน้ำเหลืองหลังจำหน่ายกลับบ้าน 5 วัน        

References

การประเมินเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย. กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข. ตุลาคม2546

ภรณี เหล่าอิทธิ, นภา ปริญญานิติกูล.มะเร็งเต้านม: ระบาดวิทยา การป้องกันและแนวทาง การตรวจคัดกรอง.จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2559 ก.ย. – ต.ค.;60: 497 – 507

ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาพยาบาลผู้ป่วยทางศัลยกรรม [อินเทอร์เน็ต]. 2561[เข้าถึงเมื่อ 11 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.rcst.or.th/web-upload/filecenter/CPG/Breast%20Mass.html.

ประทุม สร้อยวงค์ และคณะ. (2560). ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองใน ผู้ป่วย โรคมะเร็งเต้าน. วารสารการพยาบาล, 32(4), 5-18.

ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ. (2565). มะเร็งเต้านม อันดับ 1 ในหญิงไทย คัดกรอง รู้เร็ว รักษาทัน. เรียกใช้เมื่อ 4 ตุลาคม 2566 จาก https://www.bangkokbiznews.com/health/well being/1030790

ประทุม สร้อยวงค์ และคณะ. (2560). ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองใน ผู้ป่วย โรคมะเร็งเต้าน. วารสารการพยาบาล, 32(4), 5-18.

สมใจ ชาญวิเศษ, สุเมธ รินสุรงควงศ์, สมเกียรติโพธิสัตย์และคณะ. แนวทางการใช้เครื่องถ่ายภาพรังสีเต้านม (Mammography) ในการตรวจวินิจฉัยมะเร็งเต้านม. วารสารกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2545; 27: 454-462.

วีรวุฒิ อิ่มสำราญ, อาคม ชัยวีระวัฒนะ, ดนัย มโนรมณ์ และสมชาย ธนะสิทธิชัย. แนวทางการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งเต้านม. กรุงเทพ : โฆสิตการพิมพ์; 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite

พุทธา เ. (2023). การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดเต้านมแบบถอนรากชนิดดัดแปลง:กรณีศึกษา 2 ราย . วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 8(4), 923–929. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/269797