การตอบสนองต่อสื่อออนไลน์ในคดีในคดีฆ่าข่มขืนของนักศึกษาหลักสูตร รัฐประศาสนศาตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานตำรวจ

Main Article Content

ศุภวิทย์ ประสานสุข

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการตอบสนองต่อการรับสื่อออนไลน์ในคดีฆ่าข่มขืนของนักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานตำรวจ และ 2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการตอบสนองต่อการรับสื่อออนไลน์ในคดีฆ่าข่มขืนของนักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานตำรวจ ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาการบริหารงานตำรวจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกรณี 2 ตัวอย่าง (t-test independent) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์


ผลการศึกษา พบว่า


  1. การตอบสนองต่อการรับสื่อออนไลน์ในคดีฆ่าข่มขืนของนักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานตำรวจ พบว่า ด้านการติดตามข่าวสารอาชญากรรมของกลุ่มตัวอย่างติดตามเมื่อเกิดกระแสมากที่สุด ด้านช่องทางการติดตามข่าวอาชญากรรมทางสื่อออนไลน์มากที่สุด ด้านการคุยเรื่องข่าวสารอาชญากรรมกับเพื่อนมากที่สุด ด้านการศึกษาข้อกฎหมายในคดีที่สนใจพบว่ามีการศึกษาข้อกฎหมายบ้าง ส่วนใหญ่อยากให้ลงโทษตามที่กฎหมายกำหนด มีการติดตามข่าวสารบ้างอย่างต่อเนื่อง

  2. ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการตอบสนองต่อการรับสื่อออนไลน์ในคดีฆ่าข่มขืนของนักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานตำรวจ พบว่า เพศ ชั้นปีการศึกษา สถานภาพ ที่พักอาศัย รายได้/รายรับของนักศึกษาต่อเดือนมีการติดตามข่าวสารอาชญากรรมไม่แตกต่างกัน ด้านการติดตามข่าวสารอาชญากรรมของในครอบครัวแตกต่างกัน ด้านการติดตามข่าวสารอาชญากรรมของเพื่อนแตกต่างกัน ด้านช่องทางการติดตามข่าวสารอาชญากรรมทางสื่อออนไลน์ไม่แตกต่างกัน ด้านช่องทางการติดตามข่าวสารอาชญากรรมทางโทรทัศน์แตกต่างกัน ด้านช่องทางการติดตามข่าวสารอาชญากรรมทางหนังสือพิมพ์แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

เสกสรร สายสีสด. (2542). หลักการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิช.
อุบลวรรณ ปิติพัฒนะโฆษิต. (2542). การเขียนในสื่อต่าง ๆ เพื่อการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Klapper, J. T. (1960). The effects of mass communication. New York: The Free Press
McCombs, M. E. & Becker, L. B. (1979). Using mass communication theory. New York: Prentice-Hall