แนวทางการป้องกันตนเองจากอาชญากรรม : กรณีศึกษาเทศบาลเมืองลัดหลวง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

กาญจนา อุ่นใจ
ทัชชกร แสงทองดี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการป้องกันตนเองจากอาชญากรรมของประชาชนเขตพื้นที่เทศบาลเมืองลัดหลวง และ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการป้องกันตนเองจากอาชญากรรมของประชาชนเขตพื้นที่เทศบาลเมืองลัดหลวง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองลัดหลวงจำนวน 382 คน จากประชากรทั้งหมด 72,263 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการป้องกันอาชญากรรม ด้านการป้องกันตนเองและทรัพย์สินให้พ้นอาชญากรรม ด้านการเข้าร่วม ช่วยเหลือ สนับสนุนต่อกิจกรรมการป้องกันอาชญากรรม และด้านการปราบปรามอาชญากรรม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกรณี
2 ตัวอย่าง (t-test independent) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์


ผลการศึกษาพบว่า 1.การป้องกันตนเองจากอาชญากรรมของประชาชนเขตพื้นที่เทศบาลเมืองลัดหลวง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x} = 4.57, S.D. = 0.68) และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรกคือ ด้านที่ 1 ด้านการป้องกันอาชญากรรม ( gif.latex?\bar{x} = 4.76, S.D. = 0.74) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านที่ 2 ด้านการป้องกันตนเองและทรัพย์สินให้พ้นอาชญากรรม อยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x} = 4.63, S.D. = 0.82) รองลงมาคือ ด้านที่ 3 ด้านการเข้าร่วม ช่วยเหลือ สนับสนุนต่อกิจกรรมการป้องกันอาชญากรรม อยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x} = 4.52, S.D. = 0.78)


  1. การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการป้องกันตนเองจากอาชญากรรมของประชาชนเขตพื้นที่เทศบาลเมืองลัดหลวง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า ประชาชนที่มีอายุต่างกัน มีแนวทางการป้องกันตนเองจากอาชญากรรม ไม่แตกต่างกัน ในขณะที่ประชาชนที่มีเพศ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีแนวทางการป้องกันตนเองจากอาชญากรรม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

กฤษณ์ มีบำรุง. (2556). การมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรม: กรณีศึกษาชุมชนมัสยิดมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรังสิต.
คงศักดิ์ ชูศรี. (2559). ปัญหาการก่ออาชญากรรม. เข้าถึงได้จาก https://kongsakch. wordpress.com/author/kongsakch/
จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย. (2551). สังคมวิทยาอาชญากรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เทศบาลเมืองลัดหลวง. (2553). ประวัติเทศบาลเมืองลัดหลวง. เข้าถึงได้จาก http://www.ladluang.go.th /index.php?mo=59&id=404313
นฎกร คำประสิทธิ์. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรม: กรณีศึกษา ตำบลเขาคันทรง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรังสิต.
พริญญา ศรีเมือง. (2559). การออกแบบความร่วมมือในการป้องกันอาชญากรรมในเขตพื้นที่สถานีตำรวจภูธรเมืองปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ไพฑูรย์ จิตธิวรรธน์. (2556). ความร่วมมือของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมในเขตท้องที่สถานีตำรวจภูธรแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: บริษัทนานมีบุ๊คสพับลิเคชั่นส์ จำกัด.
วิชิต จุลสม. (2555). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการป้องกันอาชญากรรมของสถานีตำรวจภูธรผาม่าน อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย.
สำนักงานกิจการยุติธรรม. (2561). ร่างแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562-2565). เข้าถึงได้จาก http://www.strategypolice.com/news_ detail.asp?id=113
สุนันท์ นามตะ. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมของสถานีตำรวจภูธรบ้านแก้ง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย.
สุนิสา อินอุทัย. (2557). การป้องกันตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุวัตถิ์ ไกรสกุล และ จุฑาภรณ์ คงรักษ์กวิน. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม: กรณีศึกษาสถานีตำรวจภูธรบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. (รายงานการวิจัย). คณะนิติศาสตร์: วิทยาลัยราชพฤกษ์.
องค์การรักษาความปลอดภัยพลเรือน. (2559). ความหมายของอาชญากรรม. เข้าถึงได้จาก https://www.secnia.go.th/2016/01/13/
อู่ธนา สุระดะนัย. (2561). การตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมในสถานศึกษา: กรณีศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Phuchana. (2558). ทฤษฎีการป้องกันอาชญากรรม. เข้าถึงได้จาก http://safetytips-en.blogspot.com/2015/12/blog-post_28.html
Qamtjang_chic. (2561). ปัญหาอาชญากรรมในสังคม. เข้าถึงได้จาก https://www.scribd. com /doc/106528616/ปัญหาอาชญากรรมในสังคม