วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของนักศึกษา ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชา การบริหารงานตำรวจ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ปีการศึกษา 2561

Main Article Content

ณัฎฐ์นรี เนียมเมือง
อัครเดช พรหมกัลป์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับวัฒนธรรมทางการเมืองแบบ ประชาธิปไตยของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการบริหารงานตำรวจ คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปีการศึกษา 2561 และ 2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการบริหารงานตำรวจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปีการศึกษา 2561 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยกลุ่มประชากร ประกอบด้วยนักศึกษา ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการบริหารงานตำรวจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปีการศึกษา 2561 จำนวน 92 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือใน การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t (t-test) 


ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการบริหารงานตำรวจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปีการศึกษา 2561  ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ที่ค่าเฉลี่ย 3.84  


2. นักศึกษาที่มีเพศที่ต่างกันมีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย แตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ และนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาต่างกัน มีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2524). วัฒนธรรมทางการเมืองกับระบบการเมืองแบบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชำนาญ จันทร์เรือง. (2559). วัฒนธรรมทางการเมืองของไทย. เข้าถึงได้จาก www.bangkok biznews.com/blog/detail/637713.
ทินพันธ์ นาคะตะ. (2543). ประชาธิปไตยไทย. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสหายบล็อกและการพิมพ์.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2554). วัฒนธรรมทางการเมืองไทย. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 12(2): 49-63.
บูฆอรี ยีหมะ. (2550). ความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สามลดา.
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. (2524). วัฒนธรรมการเมืองไทย. กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์.
ลิขิต ธีรเวคิน. (2529). วัฒนธรรมทางการเมือง และการกล่อมเกลาเรียนรู้ทางสังคม. เอกสารทางวิชาการหมายเลข 28. ศูนย์วิจัยคณะรัฐศาสตร์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมชัย ใจดี และยรรยง ศรีวิริยาภรณ์. (2527). ประเพณี และวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช.
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2538). การเมืองความคิดและการพัฒนา. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์: โครงการเอกสารและตำรา.คณะรัฐประศาสนศาสตร์.
Heywood, A. (2002). Politics. (2nd ed.). New York: Palgrave Macmillan.
Phongphaew, Pronsak. (1981). Thailand's political culture. Bangkok: Social guilds.
Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (Third edition). New York: Harper and Row Publication.