การควบคุมตนเองในการเท่าทันสื่อของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

Main Article Content

ธันยพร เอกพงษ์
รัตติยา เหนืออำนาจ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาคุณลักษณะการควบคุมตนเองในการเท่าทันสื่อของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และ 2. ศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการเท่าทันสื่อของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า T-Test และค่า F-Test โดยใช้การสังเคราะห์และความแปรปรวนทางเดียว One Way ANOVA โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


ผลการวิจัย พบว่า 1) การควบคุมตนเองในการเท่าทันสื่อของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ภาพรวมอยู่ในระดับ มาก โดยด้านการรู้ทันตนเองในการใช้สื่อให้เกิดประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการรู้เท่าทันตนเองในการวิเคราะห์สื่อ และด้านการรู้เท่าทันตนเองในการเข้าใจสื่อ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด


2) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า นักศึกษาที่อายุ และระดับชั้นปี แตกต่างกัน มีการควบคุมตนเองในการเท่าทันสื่อ โดยรวม แตกต่างกันโดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นักศึกษาที่มีเพศ สถานภาพครอบครัว และภูมิลำเนา แตกต่างกัน มีการควบคุมตนเองในการเท่าทันสื่อโดยรวม ไม่แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

ดวงแข รักไทย, นิตยา ชีพประสพ และสร้อยสุวรรณ พลสังข์. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ในการฝึกปฏิบัติวิชาปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วยเพื่อพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(2): 63-73.
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (2562). งานทะเบียน. เข้าถึงได้จาก https://www.reg.ssru.ac. th.
สาริศา จันทรอำพร และมฤษฎ์ แก้วจินดา. (2559). ภาวการณ์ปัจจุบัน กับการเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ในวัยรุ่น. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(1): 83-93.
สุขใจ ประเทืองสุขเลิศ. (2549). การรับรู้ของคนไทยเกี่ยวกับความสำคัญของการรู้เท่าทันสื่อในยุคโลกาภิวัตน์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อพัชชา ช้างขวัญยืน. (2561). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์และทักษะการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 16(1): 188-197.