คุณภาพชีวิตการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธรกลางดง จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

ปณิชา มนต์ทอง
ชนิกา แสงทองดี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธรกลางดง จังหวัดนครราชสีมาและ 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับคุณภาพชีวิตการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธรกลางดง จังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรกลางดง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 80 นาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกรณี 2 ตัวอย่าง (t-test independent) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์


ผลการศึกษาพบว่า 1.ระดับคุณภาพชีวิตการปฏิบัติของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธรกลางดง จังหวัดนครราชสีมา อยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x}= 4.73, S.D. = .551) และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรกคือ ด้านการบูรณาการทางสังคม ( gif.latex?\bar{x}= 4.16, S.D. = .697) อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน อยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}= 3.64, S.D. = .616) รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาความสามารถของบุคคล อยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{x}= 3.28, S.D. = .732)


  1. การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับคุณภาพชีวิตการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธรกลางดง จังหวัดนครราชสีมา พบว่า โดยภาพรวมมีคุณภาพชีวิตการปฏิบัติหน้าที่ ไม่แตกต่างกัน ในขณะที่ข้าราชการตำรวจที่มี อายุ และระดับการศึกษา แตกต่างกัน มีคุณภาพชีวิตการปฏิบัติหน้าที่ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ พันธุ. (2557). คุณภาพชีวิตในการทำงานของเจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยสังกัด สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
ณัฏฐพล อุปัชฌาย์. (2555). คุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการตำรวจ ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 3 นครราชสีมา. (ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
นิติพัฒน์ กิตติรักษากุล. (2559). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของคุณภาพชีวิตการ ทำงานของข้าราชการตำรวจสำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พิทูร อมรวิทวัส. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงาน กับประสิทธิผลด้านการงานสัมพันธ์ภาคอุตสาหกรรมและบริการ จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
เพิ่มยศ คุ้มเยาว์. (2557). คุณภาพชีวิตการทำงานข้าราชการ สังกัดอบรมข่าวทหารบก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: โรงเรียนเสนาธิการทหารบก.
ภณิตา กบรัตน์. (2556). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน : ศึกษาเฉพาะกรณีกองกำกับการ 4 กองบังคับการตำรวจสันติบาล 1. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกริก.
วีรพงษ์ รวงผึ้ง. (2556). คุณภาพชีวิตการทำงานของตำรวจภูธรภาค7 Quality of Life at work of police officers Pegion 7 provincial police. (ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
สมชาย อุทัยน้อย. (2559). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการกรมการปกครองกับข้าราชการกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเพชรบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
สุมลมาลย์ เตียวโบ๋. (2558). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในองค์การภาครัฐ :กรณีศึกษากระทรวงมหาดไทยและกระทรวงการคลัง. (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบันฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อนุกูล ศึกหาญ. (2558). คุณภาพชีวิตการทำงานกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการเรือนจำกลางคลองเปรม. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกริก.