คำบอกเล่าของประจักษ์พยานในฐานะองค์ประกอบในอุดมคติที่แท้จริงของปรัชญา Testimony as Actual Ideal Element of Philosophy

Main Article Content

ฮากิม สุดินปรีดา
ฐิติพงศ์ เกตุอมร
เกริก กี่สวัสดิ์คอน

Abstract

บทคัดย่อ


บทความนี้พิจารณาตรวจสอบแหล่งความรู้ที่แตกต่างกันสองแหล่ง กล่าวคือ ความรู้ที่ได้มาผ่านกระบวนการทางตรรกะและเหตุผล (Rationalism) และความรู้ที่ได้มาผ่านคำบอกเล่าของประจักษ์พยาน (Testimony) ผลจากการพิจารณาพบว่า องค์ความรู้ที่ได้มาจากกระบวนการการให้เหตุผลไม่ได้มีความน่าเชื่อถือในระดับที่มากกว่าองค์ความรู้ที่ได้มาผ่านคำบอกเล่าของประจักษ์พยานเสมอไป ในขณะที่ องค์ความรู้ที่มาจากคำบอกเล่าของประจักษ์พยานสามารถบรรลุความน่าเชื่อถือในระดับที่เทียบเท่า (หรือมากกว่า) องค์ความรู้ประเภทเหตุผลนิยมได้ หากผู้ส่งผ่านองค์ความรู้ประเภทนี้มีคุณสมบัติแห่งความน่าเชื่อถือ และดังนั้น นอกจากศาสตร์แห่งสาขาวิชาปรัชญาต้องไม่ละเลยองค์ความรู้ประเภทนี้แล้ว ยังต้องให้ความสำคัญกับการศึกษาอัตชีวประวัติของผู้ส่งสาส์นด้วย บทความนี้เสนอว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ศาสตร์แห่งวิชาปรัชญาจะไม่ตกอยู่ในสภาพที่เป็นนามธรรม แต่จะมีลักษณะนำมาใช้งานจริงได้ ส่งผลให้จุดประสงค์ของวิชาปรัชญามีลักษณะไม่ผิดแผกไปจากความตั้งใจเดิม


 


คำสำคัญ:  ปรัชญา, การได้มาซึ่งความรู้, ความรู้ที่มาจากการบอกเล่าของประจักษ์พยาน


 


Abstract


This article examines two different sources of knowledge acquisition namely rational knowledge and testimonial knowledge. It reveals that rational knowledge does not always have more credibility than testimonial knowledge. Meanwhile, testimonial knowledge may be as reliable as (or greater than) rationalist knowledge if the messenger is qualified with trustworthiness. In addition to cherishing this type of knowledge, philosophy should also place emphasis on the study of autobiography. The article claims that, if this conditioned is met, philosophical epistemology will not fall into being abstract. Rather, it shall be implemented practically in everyday life, making its key objective completely homologous with its intended origin.


Keywords: Philosophy, knowledge acquisition, testimonial knowledge

Article Details

Section
Academic Article