ตรรกะแห่งจินตนาการของมิกิ คิโยะชิ: การแปลและการสืบสอบพัฒนาการของปรัชญาสำนักเกียวโตรุ่นที่สอง Miki Kiyoshi's Logic of Imagination: A Translation and Investigation of the Development of Second Generation of the Kyoto School Philosophy

Main Article Content

สรายุทธ เลิศปัจฉิมนันท์
รัตน์จิต ทองเปรม
ปาจรีย์ หวังรุ่งกิจ

Abstract

บทคัดย่อ


บทความนี้นำเสนอภูมิหลังโครงการทางปรัชญาของมิกิ คิโยะชิ ผ่านการแปลบทเกริ่นนำของตรรกะแห่งจินตนาการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสอบถึงพัฒนาการของปรัชญาสำนักเกียวโตในรุ่นที่สอง ซึ่งทำให้พบว่า มิกิ คิโยะชิ พัฒนาแนวคิดทางปรัชญาจากรากฐานของนิชิดะ คิตะโรบนจุดยืนเดียวกัน คือ ต้องการสร้างระบบความคิดในทางปรัชญาเพื่อแสดงถึงเอกภาพของอัตวิสัยและภววิสัย แต่ตรรกะแห่งจินตนาการของมิกินั้นนำเสนอในแนวทางที่แตกต่างจากนิชิดะ คิตะโร ด้วยพยายามก้าวข้ามกรอบความเป็นนามธรรมมาสู่วิธีการที่เป็นรูปธรรมผ่านมโนทัศน์ที่สำคัญ ได้แก่ มายาคติ ระบบ เทคโนโลยี และประสบการณ์ ทั้งนี้ส่งผลให้ปรัชญาสำนักเกียวโตในรุ่นที่สองได้พัฒนารากฐานไปเชื่อมโยงกับกระบวนทัศน์ของสังคมศาสตร์บนพื้นฐานของปรัชญาญี่ปุ่นสมัยใหม่


 


คำสำคัญ: ตรรกะแห่งจินตนาการ, ปรัชญาสำนักเกียวโต, พัฒนาการปรัชญาญี่ปุ่น


 


Abstract


This article presents the background of Miki Kiyoshi's Philosophical project by translating the introduction of "logic of imagination", with the aim of investigating the development of the second generation of the philosophy of the Kyoto School. It is noted that Miki Kiyoshi developed a philosophical concept, similar to Nishida Kitaro, based on the creation of a philosophical thinking system to show the unity of the subjective and objective. However, Miki's approach to the logic of imagination is presented differently from Nishida, attempting to transcend the abstract to a more concrete approach through key concepts such as 1) Myth, 2) Systems, 3) Technology, and 4) Experience. As a result, the second generation of the philosophy of the Kyoto School developed its foundation to link with the social science paradigm based on modern Japanese philosophy.


 


Keywords: Logic of Imagination, Philosophy of the Kyoto School, Development of Japanese Philosophy

Article Details

Section
Researech Articles