พญานาค: ความเชื่อสู่การกลายเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมอีสาน Naga: Belief towards become as a cultural product of Isan
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
พญานาคเป็นความเชื่อของคนอีสานถูกนำมาพัฒนาเป็นสินค้าทางวัฒนธรรม ทำให้เกิดปรากฏการณ์กระแสพญานาคนิยม หรือนาคคติ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการประกอบสร้างทางความเชื่อเกี่ยวกับพญานาคที่นำไปสู่การกลายเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมอีสาน โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงเอกสาร พบว่า พญานาคในวัฒนธรรมอีสานเป็นความเชื่อผสมระหว่างศาสนาพื้นเมือง ศาสนาพราหมณ์ และศาสนาพุทธ ถูกนำมาสร้างความหมายใหม่ เพื่อเปลี่ยนความเชื่อเป็นต้นทุนการผลิตสินค้าทางวัฒนธรรม โดยใช้ความโหยหาอดีตเป็นสำนึกที่มีร่วมกันมาผลิตซ้ำ และพัฒนาสัญญะรูปพญานาคให้เป็นแบรนด์ของสินค้า เพื่อเป็นจุดขาย และการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ ที่ก่อให้เกิดรายได้แก่ชุมชน และกระจายไปสู่พื้นที่ภายนอก
คำสำคัญ: พญานาค, การกลายเป็นสินค้า, สินค้าวัฒนธรรม
Abstract
Naga is the belief of Isan people that was developed a cultural product causes the phenomenon popular Naga or ideal Naga. This article aims to study the construction of beliefs about the Naga towards the becoming cultural products of Isan by the documentary research method. It was found that Naga in Isan culture is a mixed belief between native religions, Brahmanism and Buddhism. It was to create a new meaning for change beliefs into the cost of producing cultural products. Using the nostalgia of the past as a common sense to reproduce and develop the Naga symbol to be a brand of the product to be a selling point and economic exchange that resulting in income generation for the community and spread to outside areas.
Keywords: Naga, Commoditization, Cultural product