กระบวนการพัฒนาเยาวชน จิตอาสาเฝ้าระวังภัยในชุมชนยายชา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
การพัฒนาเยาวชน, จิตอาสาเฝ้าระวังภัยบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มเฉพาะเป็นกรอบการวิจัยชุมชนยายชา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 15 ท่าน ผู้ให้ข้อมูลเฉพาะกลุ่มจำนวน 7 ท่าน รวมถึงเยาวชน นำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคสามเส้าแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนาผลการวิจัยพบว่า
1. บทบาทเยาวชนจิตอาสาเฝ้าระวังภัยในชุมชนพบว่าเยาวชนในชุมชนแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม แสดงบทบาทที่มีส่วนสำคัญเฝ้าระวังภัยในชุมชนสรุปเป็น 3 บทบาทดังนี้ บทบาทที่ 1 ให้คำปรึกษาในครอบครัวบทบาทที่ 2 สนับสนุนอาชีพการศึกษา บทบาทที่ 3 สนับสนุนรวมกลุ่มให้ความรู้และทำกิจกรรมสร้างสรรค์
2. กระบวนการพัฒนาเยาวชนจิตอาสาเฝ้าระวังภัยในชุมชน ประกอบด้วย 1) ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2) ด้านเยาวชนรู้เท่าทันและห่างไกลยาเสพติด และ3) ด้านการสร้างแรงจูงใจในการมีจิตอาสากิจกรรมพัฒนาได้มีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ชุมชนเกิดการยอมรับเยาวชนมากขึ้นทำให้เยาวชนได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อส่วนรวม เสียสละต่อส่วนรวมดังนั้นการสร้างการยอมรับเยาวชนมากขึ้นทำให้เยาวชนได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อส่วนรวม เสียสละต่อส่วนรวม เยาวชนเข้ามามีบทบาทในชุมชนรวมถึงเยาวชนได้เห็นคุณค่าในตนเองสอดส่องเฝ้าระวังภัยจากยาเสพติดและชักชวนเพื่อนเยาวชนทำกิจกรรมที่เกิดประโยชน์ต่อชุมชน
References
กระทรวงศึกษาธิการ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542. ออนไลน์, แหล่งที่มา:
http://www.tamanoon.com [29 เมษายน 2561]
แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (10). ประเด็น การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม 2561 – 2580. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.senate.go.th/ [24 มิถุนายน 2563].
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2531). มองกว้าง คิดไกล ใฝ่สูง, มีเมื่อไร คนไทยจะเป็นชาวพุทธได้อย่างดี. นครปฐม
รัญจวน อินทรกำแหง. ภาพชีวิตจากนวนิยาย. กรุงเทพมหานคร: อตัมมโย, 2560.
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. โครงการ รั้วชุมชน : การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนประชาสังคมป้องกันยาเสพติด.[ออนไลน์], แหล่งที่มา:
http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/53930125/appendix.pdf
อารีย์ นัยพินิจและคณะ. การปรับตัวภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ Adjustment under Globalization. ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2557. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40002.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว