morality project management ประสิทธิผลการบริหารโครงการคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดราชบุรี
คำสำคัญ:
การบริหารโครงการ, คุณธรรมจริยธรรมนักเรียน, สถานศึกษาขั้นพื้นฐานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารโครงการคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนตามยุทธศาสตร์ชาติของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดราชบุรี 2. เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลในการบริหารโครงการคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนตามยุทธศาสตร์ชาติของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหาร 60 คน และ ครู รวม จำนวน 327 คน รวม 387 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ มีความความตรงรายข้อระหว่าง .80-1.0 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.873 สถิติที่ใช้ประกอบด้วยค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวน One Way ANNOVA โดยทดความแตกต่างด้วย สถิติเอฟ (f-test) เมื่อพบความแตกต่าง ทำการเปรียบเทียบรายคู่ ด้วยเชฟเฟ่ (Scheffe’)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิผลการบริหารโครงการคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน ของ สถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดราชบุรี ในภาพรวมทั้ง 3 กลุ่ม อยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกรายด้าน ด้านที่อยู่ในระดับมาก โดยเรียงจากค่ามากไปหาน้อย คือ ด้านบริบทของสถานศึกษา ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และ ด้านผลิตผล ส่วนด้านผลกระทบในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง โดยผลกระทบเชิงบวก อยู่ในระดับมาก ส่วนผลกระทบเชิงลบ อยู่ในระดับน้อย เช่นเดียวกันทุกกลุ่ม
2. ประสิทธิผลการบริหารโครงการคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดราชบุรี ของสถานศึกษา กลุ่ม 1 กลุ่ม 2 และ กลุ่ม 3 มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 จึงทำการตรวจสอบรายคู่ด้วย เชฟเฟ่ (Scheffe’) ผลปรากฏ ดังนี้
2.1 ประสิทธิผลการบริหารโครงการคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน ของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดราชบุรี กลุ่ม 1 และ กลุ่ม 2 ไม่แตกต่างกัน, กลุ่ม 2 และ กลุ่ม 3 ไม่แตกต่างกัน ส่วน กลุ่ม 1 และกลุ่ม 3 แตกต่างกันมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
References
ชฎาพร เสนเผือก. (2560). การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ตามแนว การดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม โรงเรียนวัดปากจ่า. ปัตตานี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
นฤมล วิทยาวุฒิรัตน. (2561). การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียนคลองเมืองพิทยาคม. Journal of Educational Technology and Communications Faculty of Education Mahasarakham University. Vol 2 No 4 January - April 2019
เมวิกา สุขะวิทะ. (2560). การประเมินโครงการการดา เนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนวัดเนินพระ (ทรงบัณฑิตย์ราษฎร์รังสรรค์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. ระยอง: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1.
สมพร เพชรประพันธ์. (2562). การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านดินแดงน้อย. กระบี่: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่.
สายสมร ส่งศรี. (2562). การประเมินโครงการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของนักเรียนโรงเรียนบ้านศรีทอง. นครสวรรค์: สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2
สุนทรี ศรีนวล (2561). รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาลวัดละหาร สังกัดเทศบาลเมืองบางบัวทอง อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี. นนทบุรี: เทศบาลเมืองบางบัวทอง.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560–2565). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ
Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. 3d ed. New York: John Wiley and Sons Inc.
Cronbach, Lee. J. (1990). Essentials of Psychology Testing. 5th ed. New York: Harper Collins Publishers Inc.
Stufflebeam, Daniel L. (1971). The Relevance of the CIPP Evaluation Model for Educational Accountability. Atlantic City, N.J.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว