แนวทางการบริหารความเสี่ยงด้านวิชาการ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2

ผู้แต่ง

  • สุพรรณี แผ่นทอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • นันทิยา น้อยจันทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การบริหารความเสี่ยง, วิชาการ, การแพร่ระบาดของ COVID-19

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุความเสี่ยง ประเมินความเสี่ยง และหาแนวทางการจัดการความเสี่ยงด้านวิชาการ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 (สพม.กท 2) เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาโดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงคุณภาพวิเคราะห์เอกสารและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้วยแบบสัมภาษณ์ การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 48 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหาร ครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้หรือครูหัวหน้างานด้านวิชาการโรงเรียนละ 10 คนด้วยแบบสอบถาม และยืนยันแนวทางโดยการอ้างอิงผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ความเสี่ยงด้านวิชาการ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ของโรงเรียน สังกัดสพม.กท 2 ประกอบด้วย 4 ประเภท คือ 1) ด้านยุทธศาสตร์ จำนวน 8 รายการทั้ง 8 รายการ มีระดับความเสี่ยงอยู่ในระดับสูง ความเสี่ยง 7 รายการควรลด/ควบคุมความเสี่ยง (Treat Risk) และ 1 รายการควรยอมรับความเสี่ยง (Take Risk) 2) ด้านการปฏิบัติงาน จำนวน 22 รายการ ความเสี่ยง 21 รายการ มีระดับความเสี่ยงอยู่ในระดับสูงควรลด/ควบคุมความเสี่ยง (Treat Risk) และ 1 รายการ มีระดับความเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลางควรยอมรับความเสี่ยง (Take Risk) 3) ด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ จำนวน 4 รายการทั้ง 4 รายการ มีระดับความเสี่ยงอยู่ในระดับสูง ความเสี่ยง 3 รายการ ควรลด/ควบคุมความเสี่ยง (Treat Risk) และ 1 รายการควรยอมรับความเสี่ยง (Take Risk) และ 4) ด้านการเงิน จำนวน 7 รายการทั้ง 7 รายการ มีระดับความเสี่ยงอยู่ในระดับสูงควรลด/ควบคุมความเสี่ยง (Treat Risk)

References

กระทรวงการคลัง. (2562, มีนาคม 19). หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับหน่วยงานของรัฐ. กค 0409.4/ว23.

กระทรวงการคลัง. (2564, กุมภาพันธ์ 3). แนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับหน่วยงานของรัฐ เรื่อง หลักการบริหารจัดการความเสี่ยงระดับองค์กร. กค 0409.3/ว36.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางต้องรู้และควรรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำหรับการ

จัดการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2564 ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2566). แนวทางการดำเนินงานตามโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง. (2562). มาตรฐานการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการคลัง.

ดวงใจ ช่วยตระกุล. (2551). การบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545. (2545, ตุลาคม 2). ราชกิจจานุเบกษา : 1-2.

พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561. (2561, เมษายน 19). ราชกิจจานุเบกษา : 21

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). การบริหารความเสี่ยง Risk Management (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพมหานคร: คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2563). คู่มือการประเมินผลการควบคุมภายในตามหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการ

ควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2565). รายงานการประเมินผลแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). รายงาน เรียนออนไลน์ยุคโควิด-19 : วิกฤตหรือโอกาสการศึกษาไทย. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 5, 2564, จาก https://covid19.obec.go.th /#h.w5525r3dm1tr

Committee of Sponsoring Organization of the Treadway Commission (COSO). (2004). Enterprise Risk Management-Integrated Framework. New Jersey: AICPA.

Krejcie, R. V., and Morgan, D. W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities” Educational and Psychological Measurement. 30 : 607 – 610.

World Economic Forum. (2020). 4 ways COVID-19 could change how we educate future generations. Retrieved June 14, 2020. From https://www.weforum.org/agenda /2020/03/4-ways-covid-19-education-future-generations/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30