แนวทางการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรีเขต 1

ผู้แต่ง

  • Kamonchanok Pheng-phon มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • พรศักดิ์ สุจริตรักษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

คำสำคัญ:

การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล, การบริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารสถานศึกษา และ2) เสนอแนวทางการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1กลุ่มตัวอย่างคือ สถานศึกษา จำนวน 123 แห่ง ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิและการสุ่มอย่างง่าย ผู้ให้ข้อมูลสถานศึกษาละ 3 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน และครูผู้ดูแลระบบเทคโนโลยีดิจิทัลของสถานศึกษา จำนวน 2 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 369 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

          ผลการวิจัย พบว่า

  1. สภาพปัจจุบันของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการสื่อสาร ด้านงานบุคลากร ด้านการกำกับดูแลด้านการเรียนการสอน ด้านงานงบประมาณ ด้านการบริหารจัดการข้อมูล และด้านการบริหารจัดการงานโรงเรียน สภาพที่พึงประสงค์ของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ ด้านการสื่อสาร ด้านการบริหารจัดการข้อมูลผู้เรียน ด้านการกำกับดูแลด้านการเรียนการสอน ด้านงานบุคลากร ด้านงานงบประมาณ และด้านการบริหารจัดการงานโรงเรียน

          2. แนวทางการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 สามารถสรุปได้ ดังนี้ ด้านการบริหารจัดการข้อมูลผู้เรียน ผู้บริหารควรมีการใช้เทคโนโลยีที่อำนวยความสะดวกในการเรียกดูข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียน ควรนำเทคโนโลยีมาใช้ในการช่วยสรุปและจัดพิมพ์รายงานข้อมูลผู้เรียนเพื่อนำเสนอหรือเพื่อประกอบรายงานให้กับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก ควรมีการใช้เทคโนโลยีในการนำข้อมูลผู้เรียนออกในลักษณะไฟล์ดิจิทัล ด้านการบริหารจัดการงานโรงเรียน ผู้บริหารควรให้การสนับสนุนด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนได้จากทุกที่และทันทีที่ต้องการ ควรเน้นการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่หลากหลายในการทำกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน ควรมีระบบในการจัดทำหนังสือเวียนแบบอิเล็กทรอนิกส์ ด้านการกำกับดูแลด้านการเรียนการสอน ผู้บริหารควรมีการใช้ระบบเทคโนโลยีที่สนับสนุนการพัฒนาเรียนการสอนที่เป็นงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน จัดเก็บและบันทึกงานด้านการเรียนการสอน และการจัดทำข้อมูล เอกสารเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพจากหน่วยงานต่าง ๆ ด้านงานงบประมาณ ผู้บริหารควรมีการใช้ระบบเทคโนโลยีดิจิทัลในงานงบประมาณและทรัพย์สินของโรงเรียน การจัดทำรายงานข้อมูลงบประมาณและทรัพย์สินของโรงเรียนได้ทันทีด้วยแอปพลิเคชัน และควรมีการจัดทำรายงานอัตโนมัติ ด้านงานบุคลากร ผู้บริหารควรมีการใช้เทคโนโลยีในการจัดเก็บงานบุคลากรของโรงเรียน ควรมีการจัดทำรายงานข้อมูลบุคลากรโดยใช้คำสั่งหรือระบบการจัดทำรายงานอัตโนมัติ การสรุปนำเสนอ และจัดทำรายงานข้อมูลบุคลากรอย่างเป็นระบบ ด้านการสื่อสาร ผู้บริหารควรมีการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มช่องทางการสื่อสารกับผู้เรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชน ควรให้การสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นสมาชิกชุมชน นักการศึกษาออนไลน์ ควรมีการทำระบบช่องทาง หรือแอปพลิเคชันเพื่อให้ครูสามารถเสนอแนะความคิดเห็น และสะท้อนปัญหาหรือหาแนวทางร่วมกันการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร 2) ศึกษาประสิทธิผลของโรงเรียนคาทอลิก และ 3) ศึกษาภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนคาทอลิก สังกัดคณะภคินีผู้รับใช้ดวงหทัยนิรมล ของพระแม่มารีย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดคณะภคินีผู้รับใช้ดวงหทัยนิรมล ของพระแม่มารีย์ จำนวน 274 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา 56 คน และครู 218 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2564). กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระยะ พ.ศ. 2563- 2564 ของประเทศไทย ICT2021. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

จีรวุฒิ คล่องแคล่ว. (2563). สภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุ ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ณัฐพงศ์ แก้วรากมุข. (2563).การศึกษาสภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. การศึกษาค้นคว้าการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพะเยา.

พิชญาณี กาหลง. (2563). แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ยูโฮนี บากา. (2563). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2548). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ มหาวิทยาลัย.

Best, John W. 1970. Research in Education. New Jersey : Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30