ความผูกพันในองค์กรของครูในโรงเรียนประภามนตรี 2 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

ผู้แต่ง

  • Jinthana Parychompu มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ธดา สิทธิ์ธาดา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ความผูกพันในองค์กร, ครู, โรงเรียนประภามนตรี 2

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความผูกพันในองค์กรของครูโรงเรียนประภามนตรี 2 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และ 2) เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาความผูกพันในองค์กรครูในโรงเรียนประภามนตรี 2 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) ครู ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 52 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความผูกพันในองค์กรของครูในโรงเรียนประภามนตรี 2 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน มี 4 ด้าน ดังนี้ 1) ระดับความผูกพันในองค์กรของครูในโรงเรียนประภามนตรี 2 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ด้านความเต็มใจในการปฏิบัติงานเพื่อองค์กร และ ด้านการรักษาความเป็นสมาชิกขององค์กร อยู่ในระดับมากที่สุด  ด้านความเชื่อถือต่อองค์กร และ ด้านการดำรงคงอยู่ในองค์กร อยู่ในระดับมาก 2) แนวทางพัฒนาความผูกพันในองค์กรครูในโรงเรียนประภามนตรี 2 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน มี 2 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านความเชื่อถือต่อองค์กร ค่านิยมขององค์กรเป็นกรอบความคิดหลักที่แสดงความเชื่อขององค์กร และเป็นสิ่งที่ดี มีประโยชน์ต่อการทำงานขององค์กรให้เป็นบรรทัดฐานและเครื่องยึดเหนี่ยวให้กับบุคคลในองค์กร หรือการตัดสินใจในการทำงานเรื่องต่าง ๆ เพราะองค์กรเปรียบเสมือนแสงนำทางในการปฏิบัติ และ 2) ด้านการดำรงคงอยู่ในองค์กร ความมุ่งมั่นในการสร้างผลงานเพื่อให้โรงเรียนมีความเป็นเลิศ เป็นคุณลักษณะที่แสดงออกถึงความมุ่งมั่น ตั้งใจ และรับผิดชอบในการทำหน้าที่การทำงานด้วยความเพียรพยายาม อดทน เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย ทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ ในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายที่กำหนดด้วยความรับผิดชอบ

References

บุษบา มาพบพันธ์. (2544). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันขององค์การ: ศึกษากรณีบริษัทยูโนแคลไทแลนด์ จำกัด. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหาร รัฐศาสตร์,คณะรัฐศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. สืบค้นเมื่อ มกราคม 10, 2564, จาก http://www.ret2.go.th.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. ราชกิจจานุเบกษา เลม 116 เลมที่ 74 ก. 19 สิงหาคม 2542.

ราชกิจจานุเบกษา. 66, 4 ตุลาคม 2556.

ราชบัณฑิตยสถานพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. 2539. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564 กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ นายกรัฐมนตรี, 2559, จ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ครูในอนาคตเป็นอย่างไร. เข้าถึงเมื่อ 26 กันยายน 2562. เข้าถึงได้จาก http://school.obec.go.th.

สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2558). ร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). สถิติการศึกษา ปี 2558. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: http://www.bopp-obec.info/home/?page_id=18308. (15 มิถุนายน 2559)

Jean Guilford and David E. (1970). Gray Motivation and Modern Management. Massachusetts : Addison – Wesley Publlishers. 171.

Steers, R. M., & Porter, L. W. (1977). Motivation and work behavior. New York: McGraw-Hill

Steers, R. M., & Porter, L. W. (1983). Motivation and work behavior. New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30