บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมของครูสังกัดสำนักการศึกษา เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ธนพร เพชรเขาทอง มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์
  • ปิยะนาถ บุญมีพิพิธ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

คำสำคัญ:

บทบาทผู้บริหาร, การทำงานเป็นทีมของครู, สำนักการศึกษาเขตบางคอแหลม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักการศึกษา เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร 2) การทำงานเป็นทีมของครูสังกัดสำนักการศึกษา เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร 3) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมของครูสังกัดสำนักการศึกษา เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษา เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร จำนวน 112 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย เพื่อกำหนดครูผู้ตอบแบบสอบถาม โดยกระจายครอบคลุมทุกโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามซึ่งมีค่าความตรงระหว่าง .67-1.0 ความเที่ยงเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า

  1. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักการศึกษา เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการให้ความช่วยเหลือ (X4) รองลงมา คือ ด้านความคิดริเริ่มในงาน (X1) ด้านการโน้มน้าวจิตใจ (X5) ด้านการปรับปรุงแก้ไข (X2) ด้านการเข้าสังคม (X7) ด้านการยอมรับนับถือ (X3) และด้านการประสานงาน (X6)
  2. การทำงานเป็นทีมของครูสังกัดสำนักการศึกษา เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการติดต่อสื่อสาร (Y1) รองลงมา คือ ด้านการร่วมมือ (Y2) ด้านการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Y5) ด้านการคิดสร้างสรรค์การทำงานร่วมกัน (Y4) และด้านการประสานงาน (Y3)
  3. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมของครูสังกัดสำนักการศึกษา เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร พบว่า ตัวแปรที่เข้าสมการการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมของครู คือ ด้านการให้ความช่วยเหลือ (X4) ด้านการโน้มน้าวจิตใจ (X5) ด้านการประสานงาน (X6) และด้านการเข้าสังคม (X7) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 โดยมีประสิทธิภาพการทำนายได้ร้อยละ 69.80 สามารถเขียนสมการในรูปคะแนนดิบได้ ดังนี้

tot = 2.581+.526 (X4)+.308 (X5) +.371 (X6) +.259 (X7)

สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้

 Ytot = .492 (X4)+.201 (X5) +.354 (X6) +.192 (X7)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

กระทรวงศึกษาธิการ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร.

ชัยวัฒน์ นนท์ยะโส. (2557). รูปแบบการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต), สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

นภาพร หนูพ่วง. (2560). ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในเขตบางคอแหลม สังกัดสำนักงานเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต), สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

นวนละออง สีดา. (2565). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครูสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 19(86), 8-22.

ปิยรัตน์ ณ นคร. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดสตูล. (ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต), สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2561). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มาลิสา โพธิสัตย์. (2558). ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอคลองใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต), สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

วัชรี ไตรเจริญกุลภักดิ์ จงแจ่ม. (2566). การทำงานเป็นทีม. กรุงเทพฯ: พิมพ์วลี.

สำนักงานเขตบางคอแหลม. (2565). การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2566, จาก http://www.ocsc.go.th/

สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2566). แผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2566. (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัดกรุงเทพมหานคร.

Griffiths. (1956). Human Behaviors in School Administration. New York: Appleton century-Crofts.

Roming, D. A. (1996). Breakthrough teamwork: Outstanding result using structured teamwork. Chicago: lrwin.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-01-09