สภาพปัญหาของสังคมที่มาพร้อมกับการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก

ผู้แต่ง

  • เพ็ญศรี บางบอน อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • สุชาติ ค้าทางชล นักวิชาการอิสระ
  • ธณัฏพงษ์ ศรีเรืองสมบัติ นักวิชาการอิสระ
  • วัฒนา จินดาวัฒน์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเกริก
  • ปิยะชาติ ประทุมพร อาจารย์ประจําสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค

คำสำคัญ:

สภาพปัญหา, สังคม, การพัฒนา

บทคัดย่อ

สภาพพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก สมัยก่อนนั้นเป็นพื้นที่ติดทะเลซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ อาชีพดั้งเดิมของคนในชุมชนพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก หลัก  คือ  อาชีพประมง อาชีพเกษตรกร และอาชีพค้าขาย ทำให้เศรษฐกิจดีทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค  มีความเจริญเมื่ออุตสาหกรรม เข้ามาในชุมชนทำให้ เศรษฐกิจของชุมชนในภาพรวมเติบโตขึ้น  การคมนาคมสะดวกสบาย คนในชุมชนมีงานทำ และ เกิดอาชีพใหม่ ๆ ในชุมชน ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้เป็นเจ้าของห้องเช่า  โครงการหมู่บ้านจัดสรร ประชาชนมีงานทำกันมากขึ้น ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มมากขึ้น ส่วนผลกระทบด้านลบ ทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศ กลิ่น    เรื่องเสียง ฝุ่นละออง ประชากรแฝง เข้ามาอยู่ก่อให้เกิดปัญหา   ยาเสพติด ลักเล็กขโมยน้อย อุบัติเหตุมีมากขึ้น อาชญากรรม อีกทั้งคนในชุมชนมีปัญหาสุขภาพเพิ่มขึ้น   มีโรคใหม่ ๆ เกิดขึ้น และมีความวิตกกังวล กลัวอุบัติภัยจากสารเคมี โรงงานระเบิดจึงควร  ให้ทุกส่วนในชุมชน        ให้ความสำคัญกับผลกระทบเชิงลบ ในประเด็นเรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และควรแก้ไขอย่างเร่งด่วน รวมทั้งหน่วยงานทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น ชุมชน โรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ ชาวบ้าน ควรตระหนักเกี่ยวกับปัญหาในเรื่องนี้

References

1.กำจัด รามกุล, นลินี ศรีพวง และณัฐพงศ์ แหละหมัน. 2551. ความเสี่ยงต่อภัยสุขภาพประชาชนจากมลพิษสิ่งแวดล้อมในพื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง

2.จันทนา อินทปัญญา และชยันต์ เค.เราเทรย์. 2543. ผลกระทบทางสังคมของนิคมอุตสาหกรรม มาบตาพุดในโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก จังหวัดระยอง ประเทศไทย. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์ .ปีที่ 40 ฉบับที่ 4.

3.เดชรัตน์ สุขกำเนิด ศุภกิจ นันทะวรการ และวิภวา ชื่นจิต. (2550). มลพิษ..สุขภาพ..และอุตสาหกรรมที่มาบตาพุด. มูลนิธินโยบายสุขภาพ.

4.เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง และวลัยพร มุขสุวรรณ. (2546). การประเมินผลกระทบจากการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและพื้นที่ใกล้เคียง : รายงานการศึกษาโครงการพัฒนาแนวทางและวิธีการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากการ
ลงทุนและพัฒนาขนาดใหญ่และนโยบายของรัฐโดยภาคประชาชน. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยระบบสุขภาพ.

5.สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2528). วิธีการวิจัย ทฤษฎี และการเปลี่ยนแปลงในสังคมชนบทไทย.ขอนแก่น : ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

6.สุรทิน มาลีหวน. (2551). ผลกระทบของโรงงานอุตสาหกรรมที่มีต่อคุณภาพชีวิตประชาชนกรณีศึกษามาบตาพุด. วารสารวิชาการสาธารณสุข ปีที่ 17 ฉบับเพิ่มเติม 2 (มีนาคม - เมษายน) 2551.

7.Smelser, N.J. (1972). “Structural Change Associated with Development in Organizational Issues” p.57 in M.S.F on(ed). Organization Issuees in Industrial Society. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall, Inc.

8.Sumiya,M. (1963). Social Impact of Industrialization in Japan. Tokyo: Japanese National Commission for UNESCO.p.122

9.Poungsomlee, Anuchat. And Ross, H. Impacts of Modernisation and Urbanisation in Bangkok: An Integrative Ecological and Biosocial Study. Bangkok: Mahidol University, 1992.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-13