แรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร องค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • สุรเจต ไชยพันธ์พงษ์

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน, บุคลากร, องค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดพะเยา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดพะเยา 2) ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดพะเยา และ 3) แรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพะเยา จำนวน 280 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) 

ผลการวิจัย พบว่า

  1. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายปัจจัย พบว่า ทั้งปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนมีค่าอยู่ในระดับมาก
  2. ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดพะเยาในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านคุณภาพของงานมีค่าสูงที่สุด
  3. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านปัจจัยจูงใจ และด้านปัจจัยค้ำจุนมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดพะเยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์เท่ากับ 0.796 ตัวแปรทั้งสองร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ได้ร้อยละ 63.10 มีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ 0.319

References

กระทรวงมหาดไทย. (2542). กฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเทศบาล. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.
เกศณรินทร์ งามเลิศ. (2559). แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน และลูกจ้าง
องค์การคลังสินค้า. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
จิตวิทยาอุตสาหกรรม. (2555). การคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานในองค์การธุรกิจ (ออนไลน์). แหล่งที่มา
: http://dit.dru.ac.th/home/023/psycology/chap6.html.
ชานนท์ อภิชัยณรงค์. (2557). แรงจูงใจกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากร: ศึกษากรณี
สำนักอำนวยการประจำศาลอาญา. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก.
ณัฐหทัย นันทะผา. (2560). แรงจูงใจกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงานเขตพญาไท:
กรณีศึกษา สำนักงานเขตพญาไทกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยเกริก.
นลพรรณ บุญฤทธิ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา .
ปัญญาพร ฐิติพงศ์และคณะ. (2559). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในบริษัท
ก่อสร้าง : กรณีศึกษา บริษัท อินเตอร์ เอ็กซ์เพิร์ท คอนสตรัคชั่น จำกัด. วารสาร Veridian
E-Journal สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 9(3). หน้า 1275-1292.
พิจิกขณา ไชยปาละ. (2561). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของพนักงาน
บริษัท โรงพยาบาลวัฒนแพทย์ ตรัง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้า
ไทย.
ฤทัยทิพย์ โพธิ์อ่อน. (2550). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท วิริยะซัพพลาย จำกัด.
วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.
ศิริวรรณ ศิริเดชานนท์. (2557). แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา:
ศูนย์ปฏิบัติการสินเชื่อ ธนาคารไทยพาณิชย์. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยเนชั่น.
สมคิด บางโม. (2558). องค์การและการจัดการ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
สิรภพ เจริญยิ่ง. (2561). แรงจูงใจกับประสิทธิผลการปฎิบัติงานของพนักงานราชการโรงงานผลิตเครื่อง
แต่งกายทหาร กรมพลาธิการทหารบก. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยเกริก.
สิริภัทร์ วงศ์ธีรุตม์. (2546). การเปลี่ยนแปลงสู่คุณภาพเป็นเลิศ. นครปฐม: โรงพิมพ์สายสี่การพิมพ์.
อนุชิต ศิริกิจ. (2550). ความขัดแย้งและความสัมพันธ์ของช่องทางการตลาดสำหรับการสร้างความสัมพันธ์
ระยะยาวในธุรกิจโทรคมนาคม. วารสารนักบริหาร. 27, หน้า 46.
Frederick Herzberg, Bernard Mausner and Barbara Bloch Snyderman (1959). The Motivation
to Work. New York: Wiley.
Peterson, E., & Plowman, E.G. (1989). Business Organization and Management. Homewood,
Illinois: Richard D. Irwin
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third edition. New York: Harper
and Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-24