การวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
การบริหารความขัดแย้ง, ผู้บริหารสถานศึกษา, ศตวรรษที่ 21บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ สำหรับวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึก และประเมินความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักวิชาการ/ศึกษานิเทศก์ จำนวน 6 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบตรวจสอบรายการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์เนื้อหา สำหรับวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ สถานศึกษาของรัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี จำนวน 196 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 784 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนกระจายตามอำเภอ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย สถิติที่ใช้ คือ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ สกัดองค์ประกอบด้วยวิธีองค์ประกอบหลักและหมุนแกนองค์ประกอบแบบมุมฉากด้วยวิธีแวร์ริแมกซ์
ผลการวิจัยพบว่าองค์ประกอบการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การบริหารความขัดแย้งแบบแก้ปัญหา 2) การบริหารความขัดแย้งแบบหลีกเลี่ยง 3) การบริหารความขัดแย้งแบบร่วมมือ 4) การบริหารความขัดแย้งแบบมุ่งเป้าหมายเดียวกัน และ 5) การบริหารความขัดแย้งแบบขยายทรัพยากร โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ระหว่าง 0.594-0.980 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกองค์ประกอบสามารถร่วมกันอธิบายองค์ประกอบการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ได้ร้อยละ 69.137 ซึ่งมีความเหมาะสม ถูกต้อง เป็นไปได้ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดองค์ประกอบการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ได้
References
จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย. (2557). วิธีวิทยากรวิจัยทางการศึกษา. นครปฐม: คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
ชัชากร คัชมาตย์. (2564). ความขัดแย้งระหว่างบุคคลและความขัดแย้งภายในองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในเขตตำบลท่าพล จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 11(1): 155-167.
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2556). การวิเคราะห์สถิติหลายตัวแปรสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุทธญาณ์ ใจซื่อ. (2562). รูปแบบการบริหารความขัดแย้งตามแนวความคิดใหม่ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร. 14(1): 267-270.
สุภมาส อังศุโชติ และคณะ. (2557). The use of factor analysis for instrument development in behavioral sciences. สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุวิทย์ บัวกอง. (2559). การบริหารความขัดแย้งในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มโรงเรียนดงขุย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการ บริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยนครราชสีมา.
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
อภิรดี พลีน้อย. (2555). การพัฒนาการจัดการความขัดแย้งในชุมชน โดยใช้กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชุมชนโดยอาสาสมัครไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชุมชน. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 2(2): 47-48.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว