การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมขององค์กรภาครัฐและองค์กรภาคเอกชนในการกำหนดนโยบาย ด้านการศึกษาของประเทศไทย
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, การกำหนดนโยบาย, หน่วยงานภาครัฐ, หน่วยงานภาคเอกชนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพปัจจุบันของการมีส่วนร่วมขององค์กรภาครัฐและองค์กรภาคเอกชนในการกำหนดนโยบายด้านการศึกษาของไทย 2. สร้างการเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมขององค์กรภาครัฐและองค์กรภาคเอกชนในการกำหนดนโยบายด้านการศึกษาของไทย และ 3. ยืนยันการเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมขององค์กรภาครัฐและองค์กรภาคเอกชนในการกำหนดนโยบายด้านการศึกษาของไทย เป็นระเบียบวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา ทั้งรัฐและเอกชนจากทั่วประเทศ จำนวน 425 คน ด้วยกระบวนการเลือกหลายขั้นตอนเครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความตรงรายข้อ 0.6-1.0 มีความเชื่อมั่น 0.994 สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ Factor Analysis ด้วยวิธี Exploratory Factor Analysis (EFA) และยืนยันการเสนอแนวทางด้วยสถิติ Confirmatory Factor Analysis (CFA)
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพปัจจุบันในการกำหนดนโยบายการศึกษาของชาติ พบว่าประกอบด้วย 1.1) การร่างนโยบาย พบว่า มาจากข้าราชการประจำ กระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ ที่ขึ้นอยู่กับระบบการเมือง มีระยะเวลาในการจัดทำน้อยมาก จัดทำในรูป“คณะทำงาน” ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล โดยผู้แทนแต่ละหน่วยงานจากภาครัฐ เป็นผู้ให้ข้อมูล สภาพปัญหาและความต้องการ มาจัดทำร่างนโยบาย 1.2) การอนุมัตินโยบาย โดยใช้มติคณะรัฐมนตรี ที่ตัดสินใจร่วมกัน 1.3) การขับเคลื่อนนโยบาย โดยแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ผลักดันนโยบาย 1.4) การปฏิบัติตามนโยบาย ใช้วิธีออกกฎหมายให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม ทั้งระดับประเทศ จังหวัด และสถานศึกษา และสภาพปัจจุบันจากการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า อยู่ในระดับมาก
- การเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมขององค์กรภาครัฐและองค์กรภาคเอกชนในการกำหนดนโยบายด้านการศึกษาของไทย โดยวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก ด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงสำรวจ ได้ 5 องค์ประกอบ คือ 1) การมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ความต้องการ 2) การมีส่วนร่วมด้านวิชาการและวิจัย 3) การมีส่วนร่วมด้านการรับรู้และเห็นชอบ 4) การมีส่วนร่วมการปฏิบัติตามนโยบาย 5) การมีส่วนร่วมในการสนับสนุนนโยบาย โดยค่าน้ำหนักตัวแปรองค์ประกอบ อยู่ระหว่าง 0.630–0.727, ค่าความแปรปรวนของตัวแปร = 66.284, ค่าร้อยละของความแปรปรวน = 39.319, ค่าร้อยละ ของความแปรปรวนสะสม = 51.792
- การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงเชิงยืนยัน (CFA) พบว่า องค์ประกอบของการเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมขององค์กรภาครัฐและองค์กรภาคเอกชนในการกำหนดนโยบายด้านการศึกษาของไทยโดยตรวจสอบจากค่าสถิติค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ =1.239, df=52 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.115 โมเดลตามสมมุติฐานสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ß = 0) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ค่าดัชนีตรวจสอบความกลมกลืนได้ค่า GFI=0.982, AGFI=0.952, TLI = 0.992, NFI=0.982, CFI=0.997 ซึ่งมีค่ามากกว่า 0.95 ค่าดัชนีในกลุ่มค่าความคลาดเคลื่อนของการประมาณค่า โดยได้ค่า SRMR = 0.0342 RMR = 0.038 RMESA=0.024 ซึ่งมีค่าน้อยกว่า 0.05
References
กลุ่มนโยบายและแผน. (2564). แผนที่นำทางการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา (SDG4) จังหวัดสมุทรปราการ: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรปราการ.
คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). ราชกิจจานุเบกษา (เล่ม 134 ตอนที่ 40ก). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.
สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์. (2563). ระบบการศึกษาต้องเร่งปรับตัวในโลกที่กำลังพลิกพัน. กสศ. ค้นเมื่อ, มกราคม 8, 2564, จาก https://www.eef.or.th/interview-somkiat/
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.). (2564). สภาพัฒน์จัดระดมความคิดเห็นต่อร่างแผนฯ 13 ในการประชุมประจำปี 2564 Mission to Transform : 13 หมุดหมายพลิกโฉมประเทศไทย. ข่าวสาร/กิจกรรม. ค้นเมื่อ, 18 ตุลาคม 2564, จาก www.nesdc.go.th
สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). นโยบาย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
อรทัย ก๊กผล. (2552). คู่คิด คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน สำหรับนักบริหารท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.
Arnstein, S. R. (1969). A Ladder Of Citizen Participation. Journal of the American Institute of Planners, 35, 216-224.
Best, J. W. (1977). Research in Education (3rd ed.). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall.
Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons, Inc.
Diamantopoulos, A., & Siguaw, J. A. (2000). Introducing LISREL: A guide for the uninitiated. London: SAGE Publications, Inc,.
Kaiser, H. F. (1974). An index of factorial simplicity. psychometrika, 39(1): 31-36. doi:10.1007/BF02291575
Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of psychology.
Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2010). A beginner's guide to structural equation modeling (3rd ed.). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว