การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1
คำสำคัญ:
การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, ประสิทธิภาพของสถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพและประสิทธิภาพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 และ 4) เพื่อศึกษาการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 จำนวน 323 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.983 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษาโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากขึ้นไป 2) ประสิทธิภาพของสถานศึกษาโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากขึ้นไป 3) การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิภาพของสถานศึกษาในระดับสูงมากเท่ากับ .854 และ 4) การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของสถานศึกษา ได้แก่ ชุมชนกัลยาณมิตร ทีมร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ และมีภาวะผู้นำร่วม ร่วมกันพยากรณ์แปรปรวนประสิทธิภาพของสถานศึกษาได้ร้อยละ 76.70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
การญ์พิชชา กชกานน. (2561). การชับเคลื่อนการศึกษาในระดับโรงเรียนด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 ราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงวิจัย (1039-1046). ราชบุรี: ราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงวิจัย.
ทิพย์วิมล วังแก้วหิรัญ, ปริญญา มีสุข และอังค์วรา วงษ์รักษา. (2564). กระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในประเทศไทยและต่างประเทศ. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ. 8(1) : 180-199.
เทื้อน ทองแก้ว. (2563). การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่: ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19. คุรุสภาวิทยาจารย์. 1(2) : 1-10.
นัสเซอร์อาลี เกปัน. (2562). ประสิทธิภาพการบริหารสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามอันซอเรียะห์อัดดีนียะห์ จังหวัดสตูล. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
วรลักษณ์ ชูกำเนิด. (2557). รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บริบทโรงเรียนในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562). การพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.
ศักดิ์นิรันดร์ วงษ์ศรีแก้ว, วิชิต กํามันตะคุณ และยุวธิดา ชาปัญญา. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารสถานศึกษาเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดยโสธร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 11(1) : 79-88.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. (2564). การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่ในสถานการณ์โควิด-19 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. ม.ป.ท.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับ พ.ศ. 2564 – 2565. ม.ป.ท.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). การศึกษาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาและจัดทำฐานข้อมูลและสารสนเทศทางการศึกษาเพื่อการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและการตัดสินใจเชิงนโยบายของหน่วยงานส่วนกลาง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2565. จาก http://backoffice.thaiedresearch.org/uploads/paper/b9a455fefbb04b5b9b69d5bc095df863.pdf.
สุนันทา สุขเอี่ยม. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สุภัคฉวี เอี่ยมสำอางค์. (2559). การศึกษาภาวะผู้นำร่วมของหัวหน้างานในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
อำนาท เหลือน้อย. (2561). รูปแบบการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมาตรฐานสากล. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ไอริน ปั่นพุด. (2563). แนวทางการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
Ahmet Kanmaz Luutfi Uyar. (2016). The Effect of School Efficiency on Student Achievement. International Journal of Assessment Tools in Education. 3(2) : 123-136.
Antinluoma M., Ilomaki L. and Toom A. (2021). Practices of Professional Learning Communities. Frontiers in education. 6(Article 617613) : 1-14.
Cronbach, L. J. (1984). Essential of psychology testing. New York: Harper.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3) : 607-610.
Louis, K. S., Kruse, S. D. and Bryk, A. S. (1995). Profess and Community: Perspectives on Reforming Urban Schools. Thousand Oaks, California, USA: Corwin Press.
Tria, J.Z. (2020). The COVID-19 Pandemic through the Lens of Education in the Philippines: The New Normal. International Journal of Pedagogical Development and Lifelong Learning. 1(1), ep 2001.
W.K. Kellogg foundation. (2007). The collective leadership framework. [Online]. retrieved May 25, 2022, from https://www.sparc.bc.ca/wp-content/uploads/2020/11/ the-collective-leadership-framework.pdf.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว