ภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนคาทอลิกสังกัดคณะภคินีผู้รับใช้ดวงหทัยนิรมลของ พระแม่มารีย์
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร, ประสิทธิผลของโรงเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร 2) ศึกษาประสิทธิผลของโรงเรียนคาทอลิก และ 3) ศึกษาภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนคาทอลิก สังกัดคณะภคินีผู้รับใช้ดวงหทัยนิรมล ของพระแม่มารีย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดคณะภคินีผู้รับใช้ดวงหทัยนิรมล ของพระแม่มารีย์ จำนวน 274 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา 56 คน และครู 218 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
- ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร ของโรงเรียนคาทอลิก สังกัดคณะภคินีผู้รับใช้ดวงหทัยนิรมล ของพระแม่มารีย์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 2 ด้านและระดับมาก 3 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ผู้นำที่มีความคิดความเข้าใจระดับสูง ความสามารถในการนำปัจจัยนำเข้าต่าง ๆ มากำหนดกลยุทธ์ การมีความคาดหวังและการสร้างโอกาสสำหรับอนาคต การกำหนดวิสัยทัศน์ และวิธีการคิดเชิงปฏิวัติ
- ประสิทธิผลของโรงเรียนคาทอลิก สังกัดคณะภคินีผู้รับใช้ดวงหทัยนิรมล ของพระแม่มารีย์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ความสามารถในการผลิตนักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ความสามารถในการพัฒนานักเรียนให้มีทัศนคติทางบวก ความสามารถในการแก้ปัญหาภายในโรงเรียน และความสามารถในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาโรงเรียน
3. ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ (X5) ด้านความสามารถในการนำปัจจัยนำเข้าต่าง ๆ มากำหนดกลยุทธ์ (X2) ด้านวิธีการคิดเชิงปฏิวัติ (X4) และด้านผู้นำที่มีความคิดความเข้าใจระดับสูง (X1) ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนคาทอลิก สังกัดคณะภคินีผู้รับใช้ดวงหทัยนิรมล ของพระแม่มารีย์ โดยสามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลของโรงเรียนคาทอลิก ได้ร้อยละ 52.30 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
กมล โสวาปี. (2556). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ บริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
กรรณาภรณ์ พุฒชงค์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา กับ ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. ปริญญานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). จุดเน้นสู่คุณภาพผู้เรียนจุดเปลี่ยนการปฏิรูปการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560). ค้นเมื่อ มกราคม 22, 2564, จากhttp://opec.go.th/ckfinder/userfiles/files/general/123(2).pdf.
จตุพงษ์ สี้ประเสริฐ. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จังหวัดชลบุรี. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
ณธิดา โกรทินธาคม. (2560). การใช้พลังอำนาจของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ดุลคิพลี หลังจิ และ เอกรินทร์ สังข์ทอง. (2564). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การ แห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน จังหวัดยะลา. วารสารวิจัยวิชาการ. 4(4) : 93-106.
ธร สุนทรายุทธ. (2551). การบริหารจัดการเชิงปฏิรูป : ทฤษฎี วิจัย และปฏิบัติทางการศึกษา.กรุงเทพมหานคร : เนติกุลการพิมพ์.
ธีรศักดิ์ ชนะบางแก้ว. (2557). ภาวะผู้นำ. ค้นเมื่อ ธันวาคม 11, 2563 จาก http://www.baanjomyut.com.
ธีระยุทธ คงแสงธรรม. (2563). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2. NMCCON 2020 The 7th National Conference Nakhonratchasima College : 415-425.
นพวรรณ บุญเจริญสุข. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วารสารวิชาการสถาบันการพลศึกษา. 10(2) : 274-291.
นีลบล อุณาศรี. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตกับประสิทธิผลการทำงานของพนักงานครู โรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
นันท์นภัส วิกุล. (2559). ประสิทธิผลของสถานศึกษาระดับปฐมวัย ในจังหวัดนครราชสีมา. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขานวัตกรรมการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ปนัดดา วรกานต์ทิวัตถ์. (2555). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร ตามการรับรู้ของผู้บริหารและครู. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ปวีณา ศรีนาราง และ นภาเดช บุญเชิดชู. (2561). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย. 9(2) : 117-136.
ภิญโญ สาธร. (2550). หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : วัฒนาพานิช.
มันทนา กองเงิน. (2554). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์กับการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2555). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 6). สงขลา : นําศิลป์.
วรเชษฐ์ แถวนาชุม, สุรางคนา มัณยานนท์, และนวรัตน์วดี ชินอัครวัฒน์. (2564). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย. 5(3) : 622-631.
วิราพร ดีบุญมี. (2556). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สมบูรณ์ พรรณนาภพ. (2550). หลักการเบื้องต้นของการบริหารโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร : บรรณากิจ.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological test (5thed.). New York: Harper Collins.
Dubrin, A. J. (2004). Leadership: Research findings, Practice, and skills (4thed.). New York: McGraw-Hill.
Good, C. V. (1973). Dictionary of education. (3rded.). New York: McGraw-Hill.
Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (1991). Educational administrations: Theory research and practice (4thed.). New York: McGraw-Hill.
Ireland, R. D. & Hitt, M. A. (1999). Achieving and manintaining strategic compettiveness in the 21st Century: the role of strategic leadership. Academy of Management Excutive. 13(1) : 43-57.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3) : 607-610.
Mott, P. E. (1972). The characteristics of effective organizations. New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว