การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กับการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลของโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้
คำสำคัญ:
การศึกษาความสัมพันธ์, ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา, การบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้ 2) เพื่อศึกษาการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้ 4) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้ ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา และครู รวมทั้งสิ้น 341 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.933 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2) การบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้ โดยภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้ มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูงเท่ากับ .765 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้ ได้แก่ การพัฒนาตนเอง, การแก้ปัญหา, การทำงานเป็นทีม การมีส่วนร่วม, ทักษะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, การสร้างแรงบันดาลใจ ร่วมพยากรณ์ความแปรปรวนของการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้ ได้ร้อยละ 60.00 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
จิระเดช สวัสดิภักดิ์. (2562). การศึกษาบทบาทภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด อาชีวศึกษาในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสําหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
นภัสนันท์ เบิกสีใส. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานตามมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร เขต 23. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ภคพร เลิกนอก. (2563). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 7(2), 158-159.
รุ้งนภา จันทร์ลี. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 2. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
วุฒินันท์ โพหะดา. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้น้าการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน ศูนย์เครือข่ายลุ่มน้ำสายบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
วิภาดา สารัมย์การวิจัย. (2562). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สุชญา โกมลวานิช. (2563). องค์ประกอบของภาวะผู้นำ ดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย.
สุธรรม ธรรมทัศนานนท์ (2554). หลักการ ทฤษฎี และนวัดกรรมการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2.มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักการศึกษา. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2564 - 2569). กรุงเทพมหานคร : วันไฟน์เดย์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพัชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2561). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล.(School Management in Digital Era) โครงการสานพลังประชารัฐ. ออนไลน์สืบค้นจากhttp://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/52232.
Ashley Alcock (2021). ผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุคใหม่. ออนไลน์สืบค้นจากhttps://adecco.co.th/th/knowledge-center/detail/7-qualities-of-modern-leaders).
Bass,B.M.,& Avolio,B.J.(1994). Improving Organizational Effectiveness Throug Transformational Leadership. C.A: Sage Publications, Inc.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว