แนวทางการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครู สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 4
คำสำคัญ:
ความผูกพันต่อองค์การ, สถาบันการอาชีวศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครู 2) เปรียบเทียบระดับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครู จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาการปฏิบัติงาน เงินเดือน ประเภทวิชา และ 3) หาแนวทางการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์การ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย คือ ข้าราชการครู สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 4 จำนวน 234 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งประเภท กระจายสัดส่วนตามขนาดของวิทยาลัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครู อยู่ในระดับมาก ทั้งภาพรวมและรายด้าน เรียงลำดับ ได้แก่ การใช้ความพยายามอย่างสุดความสามารถ และทำตามหน้าที่ให้ดีที่สุด ความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะเป็นสมาชิกของวิทยาลัย การพูดเกี่ยวกับวิทยาลัยในทางบวกต่อผู้ร่วมงาน 2. ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครู จำแนกตามเพศ อายุ ประเภทวิชาแตกต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านระดับการศึกษา ระยะเวลาการปฏิบัติงาน เงินเดือนแตกต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน และ 3. แนวทางการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครูในวิทยาลัย ประกอบด้วย การพูดเกี่ยวกับวิทยาลัยในทางบวก ความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะเป็นสมาชิกของวิทยาลัย และการใช้ความพยายามอย่างสุดความสามารถ และทำตามหน้าที่ให้ดีที่สุด สรุปได้ว่าผู้บริหารควรมีนโนบายองค์การที่ดีไปในทิศทางเดียวกัน และมีเป้าหมายชัดเจน ทุกคนมีส่วนร่วม ลงมือปฏิบัติ สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมได้เป็นอย่างดี ครูต้องเห็นคุณค่าและความสามารถของตนเอง สร้างจิตสำนึกที่ดีต่อการปฏิบัติงานตามหน้าที่ ตามภาระงาน เชื่อมั่นศรัทธาต่อผู้บริหาร มีการรับฟังข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะซึ่งกันและกันอย่างจริงใจ องค์การควรจัดกิจกรรมที่เชื่อมความสัมพันธ์อันดีต่อกัน สานสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหาร ครูและบุคลากรให้รู้จักกันทั่วทั้งองค์การ เกิดความร่วมมือความสามัคคีกัน ผู้บริหารเร่งสร้างขวัญและกำลังใจ จัดสวัสดิการที่ดีให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่เอื้อประโยชน์พวกพ้อง เห็นความสำคัญของผู้รับบริการเป็นหลัก
References
กนกวรรณ แอ่นศรี. (2555). ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรทางการศึกษากลุ่มโรงเรียนเพชรจินดา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา. นครปฐม: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
จิระพร จันทภาโส. (2558). ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ณัฐพัฒน์ มงคลวรกิจชัย. (2559). การนำองค์กรของผู้บริหารกับความผูกพันของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงของโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย. วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ. 8(1): 75-101.
ทวีวัฒน์ จิตติเวทย์กุล. (2557). ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานอธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. กรุงเทพมหานคร: ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ยุพา กิจส่งเสริมกุล. (2559). ความผูกพันต่อองค์การของครูและผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
รุ่งโรจน์ อรรถานิทธิ์. (2554). Employee engagement by การสร้างความผูกพันของพนักงานในองค์กร. กรุงเทพมหานคร: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 4. (2564). ประวัติสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 4. ค้นเมื่อ 3 มกราคม 2564, จาก http://www.ivec4.ac.th/about.php
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2563). นโยบาย. ค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2564, จาก http://ivec4.ac.th/
สุรีภรณ์ นามอุตวงษ์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของครูโรงเรียนสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนันต์ธนา สามพุ่มพวง. (2558). แรงจูงใจกับความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริการหารศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological test (5th ed.). New York: Harper Collins.
Hewitt Associates. (2004). Research brief employee engagement higher at double-digit growth company. Retrieved 20 April 2020, from http://www.hewittas sociates.com/Intl/NA/en-US/Default.aspx.
Hewitt Associates. (2010). Hewitt engagement survey. Retrieved 15 August 2020, from http://www.hewittassociates.com/Intl/NA/enUS/Consulting/ServiceTool.aspx?cid=2256&sid=7212.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว