ทักษะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ราชบุรี เขต 1

ผู้แต่ง

  • Duanpen Kruekrau มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • ชวน ภารังกูล มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

คำสำคัญ:

ทักษะของผู้บริหาร , การบริหารงานวิชาการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษา  2) ศึกษาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน และ 3) ศึกษาทักษะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 จำนวน 123 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลสถานศึกษาละ 3 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน และหัวหน้าวิชาการหรือครูผู้รับผิดชอบงานวิชาการ 1 คน และครู จำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 369 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น และสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต1โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในรายด้านพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดจำนวน 4 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ผู้นำที่มีค่านิยมและจริยธรรมที่เหมาะ การสื่อสารและความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนชุมชน การกำหนดนโยบายและการปกครอง และการจัดการเรียนรู้ และอยู่ในระดับมากจำนวน 6 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ การวิจัยทางการศึกษาการประเมินผลและการวางแผน การบริหารจัดการองค์กร การวางแผนและการพัฒนาหลักสูตร การประเมินผลงานและการบริหารบุคลากร และการวิจัยทางการศึกษาการประเมินผลและการวางแผน
  2. การบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในรายด้านพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดจำนวน 8 ด้าน ซึ่งเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา การวัดผล ประเมินผล และด้านการเทียบโอนผลการเรียน การพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น การพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ การนิเทศการศึกษา และการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา และอยู่ในระดับมากจำนวน 2 ด้าน คือ การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา และการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา
  3. ทักษะของผู้บริหาร ด้านการจัดการเรียนรู้ (X6) ด้านการสื่อสารและความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนชุมชน (X3) ด้านการวางแผนและการพัฒนาหลักสูตร(X5) ด้านการวิจัยทางการศึกษาการประเมินผลและการวางแผน(X9) ด้านผู้นำที่มีค่านิยมและจริยธรรมที่เหมาะ (X10) ด้านการประเมินผลงานและการบริหารบุคลากร (X7) ด้านการบริหารจัดการบุคลากร (X8) และด้านผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ (X1 ) ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 โดยสามารถร่วมกันทำนายการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน ได้ร้อยละ 85.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ.05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือการบริหารโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล. กรุงเทพ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กรุงเทพธุรกิจ. (2565). ฤาสาเหตุของปัญหาจะมาจากผู้นำ. ค้นเมื่อ มกราคม 11, 2565, จาก https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/119748

กรุงเทพธุรกิจ. (2565). วิกฤตผู้นำ ภาวะขาดหัวหน้างานที่ดี. ค้นเมื่อ มกราคม 11, 2565, จาก https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/115023

จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2555). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ทวี พริ้นท์ (1991).

จันท์ฑิตา พฤกษานานนท์. (2555). เด็ก…กับปัญหาการเรียน พ่อ แม่ ครู แพทย์ และเด็ก แก้ไขได้. ค้นเมื่อ มกราคม 11, 2565, จาก https://www.doctor.or.th/article/detail/7894

จันทรานี สงวนนาม. (2550). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี : บุ๊ค พอยท์.

ชลดา ภู่ระหงษ์. (2560). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10. วิทยานิพนธ์หลักสูตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฐพงษ์ ปรีชานนทกุล. (2563). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดระยอง และตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ทัสนี วงศ์ยืน. (2564). การบริหารงานวิชาการ. ค้นเมื่อ กรกฎาคม 23, 2564, จาก https://mystou.files.wordpress.com/2012/02/23503-4-k.pdf.

นภารัตน์ ชลศฤงคาร. (2557). การบริหารงานวิชาการกับมาตรฐานด้านผู้เรียนโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บวร เทศารินทร์. (2560). ประเทศไทย 4.0 โมเดลเศรษฐกิจใหม่. ค้นเมื่อ มิถุนายน 11, 2564, จาก http://www.drborworn.com/articledetail.asp?id=pnhhq.

บุญส่ง กรุงชาลี. (2561). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

มณฑาทิพย์ นามนุ. (2561). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ และ ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์. (2555). ความล้มเหลวของระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาไทย: สาเหตุและข้อเสนอแนะ. ค้นเมื่อ มกราคม 11, 2565, จาก https://thaipublica.org/2012/02/failure-thai-educational-system/

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). คู่มือการบริหารโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร : ผู้แต่ง.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2549). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2545 กรุงเทพมหานคร : สำนักงานฯ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). สภาวะการศึกษาไทยปี 2557/2558 จะปฏิรูปการศึกษาไทยให้ทันโลกในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ดีการพิมพ์.

อังคณา มาศเมฆ. (2557). การบริหารงานวิชาการกับคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนเทศบาลกลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อุษา แซ่เตียว. (2559). ทักษะของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการโรงเรียนสังกัดสำนักงานขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Hoyle, John R., English, Fenwick W., and Steffy, Betty E. (1998). Skills for Successful 21st Century School Leaders: Standards for Peak Performers. Virginia: American Association of School Administrators.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30