ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นโรงเรียนประสิทธิภาพสูงของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
-
คำสำคัญ:
องค์กรประสิทธิภาพสูง, องค์กรสมรรถนะสูง, โรงเรียนประสิทธิภาพสูงบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นโรงเรียนประสิทธิภาพสูงของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 (สพม. กท. 1) เพื่อยกระดับโรงเรียนเป็นโรงเรียนประสิทธิภาพสูงที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน จากการทบทวนวรรณกรรมพบปัจจัยสำคัญดังนี้ การวิเคราะห์และการวางแผนกลยุทธ์ การสร้างนวัตกรรม บทบาทของผู้นำ การส่งเสริมการเรียนรู้ และการจูงใจและค่าตอบแทน ผู้วิจัยศึกษากลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษาและคณะครูจำนวนรวม 307 คน ของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสพม. กท.1 จำนวน 23 โรงเรียนจากทั้งหมด 67 โรงเรียน โดยสร้างแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 50 ข้อ ตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านได้ IOC 0.67 ขึ้นไป และนำไปทดสอบความเชื่อมั่นในกลุ่มทดลอง 30 คนได้ค่าความเชื่อมั่น .97 จากนั้นนำไปสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างในโรงเรียนสังกัดสพม. กท.1 นำเสนอโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (rxy) อยู่ในช่วง .71-.89 อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่า ปัจจัยทั้งห้ามีส่งผลต่อการเป็นโรงเรียนประสิทธิ์ภาพสูงระดับสูง และ วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พบว่า ปัจจัยหลักคือ การจูงใจและค่าตอบแทน (.93 x5) การเรียนรู้และพัฒนา (.72x4) และ การวิเคราะห์และการวางแผนกลยุทธ์ (.70x1) ปัจจัยรอง คือ บทบาทของผู้นำ (.43x3) และ การสร้างนวัตกรรรม (.32x2) แสดงไว้ในสมการดังต่อไปนี้ Y= 7.02+0.93x5+0.72x4+0.70x1+0.43x3+0.32x2.
References
เสกสรรค์ ปิวศิลป์ศักดิ์. (2562). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ดุษณีย์ ยศทอง. (2561). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสู่องค์กรพยาบาลสมรรถนะสูง: กรณีศึกษา โรงพยาบาลศิริราช. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.
ธันวา วาทิตต์พันธ์. (2022). องค์ประกอบของโรงเรียนมัธยมศึกษาสมรรถนะสูง. Yanasangvorn Research Institute Vol.13 No.1, 47-58.
นันทวรรณ บุญช่วย. (2559). ปัจจัยเชิงสาเหตุการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงสำหรับมหาวิทยาลัยของรัฐ ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ประสิทธิ์ วัฒนาภา. (2559). มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลศิริราช. กรุงเทพมหานคร.
ปุญชรัศมิ์ เหมบุรุษ และ วีระวัฒน์ อุทัยน์. (2562). รูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษที่ส่งเสริมการเป็นองค์กรสมรรถนะสูง. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.
พสุ เดชะรินทร์. (2550). องค์กรแห่งการเรียนรู้ วัฒนธรรมองค์การ. ผู้จัดการายสัปดาห์.
วิโจรน์ สารรัตนะ. (2555). แนวคิด ทฤษฎี และประเด็นเพื่อการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: หจก. ทิพยวิสุทธิ์.
สพม กทม.1. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 (พ.ศ. 2563-2565). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1.
สรรเพชญ โทวิชา. (2560). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาสมรรถนะสูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
สุจิตรา ยางนอก. (2562, 10 10). [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2565 จาก http://blog.bru.ac.th/members/sujitra2520/document/
Holbeche, L. (2012), The High Performance Organization, London: Routledge
Julie Linthorst, A. d. (2020). Megatrends and Disruptors and Their Postulated Impact on Organizations. MDPI Journal, 1-25.
Kirchmer, M. (2017). High Performance Through Business Process Management, Strategy Execution in a Digital World. Cham, Switzerland: Spinger.
Likert, R. (1967). Atitude Theory and Measurement. In The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading on Fishbeic, M.(Ed) (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.
Lynch, R. (2015). What is strategic management? In R. Lynch, Strategic Management (pp. 8-27). United Kingdom: Pearson.
Schreus, M., & Meingast, A. (2015). A High Performance Organization. HPO Center.
Thanasarn Rujira, et al. (2020). Synthesis of Vocational Education College Transformation Process toward High-Performance Digital Organization. International Journal of Information and Education Technology, 832-837.
Thanh Tung Do and Ngoc Khuong Mai. (2020). High-performance organization: a literature review. Emerald Insight, 297-309.
Waal & Wang. (2017). Applicability of the High Performance Organization (HPO) Framework in the Chinese: The Case of a State-Owned Enterprise. Journal of Chinese Human Resource Management, 1-29.
Waal, A. d. (2020). High Performance Managerial Leadership. California: ABC-CLIO, LLC.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว