การบริหารงานวิชาการบนพื้นฐานการพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3

ผู้แต่ง

  • บุษยมาศย์ เดชคง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ธดา สิทธิ์ธาดา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การบริหารวิชาการ, เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก, สถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการบนพื้นฐานการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 2) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงานวิชาการบนพื้นฐานการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าฝ่ายบริหารงานวิชาการ และครูผู้สอนสถานศึกษาสังกัดสักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน จำนวน 332 คน ได้มาโดยวิธีหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางการประมาณการขนาดกลุ่มตัวอย่างของ ทาโร่ ยามาเน่ ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบแกนนำทางด้านการบริหารงานวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิทางการบริหารงานวิชาการบนพื้นฐานการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 จำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการบริหารงานวิชาการบนพื้นฐานการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยภาพรวมการบริหารงานวิชาการบนพื้นฐานการพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก อยู่ในระดับมาก และหากพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยพบว่า ลำดับแรกคือ ด้านการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านการวัดและประเมินผลการศึกษา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านการนิเทศการศึกษา อยู่ในระดับมาก ด้านการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา อยู่ในระดับมาก ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก ส่วนลำดับสุดท้ายที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการวิจัยและพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีค่าอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการบริหารงานวิชาการบนพื้นฐานการพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พบว่า ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านการวัด และประเมินผลการศึกษา ด้านการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และด้านการนิเทศการศึกษา

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). แผนปฏิบัติราชการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก ประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2561. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://bps.sueksa.go.th/web. สืบค้นวันที่ 15 มีนาคม 2564.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). เอกสารประกอบการพัฒนาหลักสูตรพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ สำหรับผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: กระทรวง.

จีณัญญาพัจน์ โคตรหลักคำ. (2558). แนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณัฐพร อ่อนเพ็ง. (2558). แนวทางการบริหารงานวิชาการโรงเรียนในอำเภอนาราง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน.

ปิยะนาถ ไชยวุฒิ. (2562). การศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารงานวิชาการโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคเหนือ. ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม.

ภูสุดา ภู่เงิน. (2560). แนวทางการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดสานพลังประชารัฐในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รัฐศักดิ์ เครือวัลย์. (2561). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสุนทรภู่พิทยา จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

วัชรินทร์ ปะนามิเก. (2558). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

แววตา ชุ่มอิ่ม. (2562). แนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์

ศุภวรรณ สุธัมมา. (2563). แนวทางการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์

สมิตานัน ทิพย์ศรีหา. (2561). สภาพและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. (2564). ข้อมูลทั่วไปของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.pr.chon3.go.th/web/. สืบค้นวันที่ 1 ตุลาคม 2564.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้. คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษา พ.ศ.2550. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแหงชาติ พ.ศ.2560 - 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟค.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา องค์กรมหาชน. (2547). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา องค์การมหาชน.

สํานักนโยบายและยุทธศาสตร และสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2561). แผนพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (พ.ศ.2560 - 2564). [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://bps.sueksa.go.th/web. สืบค้นวันที่ 15 มีนาคม 2564.

Aggison, L. K. (2020). Tackling the Transition Into Academic Administration. In Building Your Best Chemistry Career Volume 1: Academic Perspectives. American Chemical Society.

Miller, J. A. (1989). Mechanism and modeling of nitrogen chemistry in combustion. Progress in energy and combustion science. 15(4), 287-338.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30