ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2

ผู้แต่ง

  • ทวีชัย บาอินทร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์
  • สุกัญญา สุดารารัตน์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นําใฝ่บริการ, ผู้บริหารสถานศึกษา, สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูต่อระดับภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 จำนวน 317 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.67-1.00 และความเที่ยงเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที t-test independent และการวิเคราะห์ค่าแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วย LSD

ผลการวิจัยพบว่า

1) ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 ทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และพิจารณารายด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ย จากสูงไปหาต่ำ คือ ด้านการมุ่งมั่นพัฒนาบุคลากร รองลงมาตามลำดับคือ ด้านการเยียวยารักษา ด้านการโน้มน้าวใจ ด้านการสร้างมโนทัศน์ ด้านการเห็นอกเห็นใจ ด้านการสร้างชุมชน ด้านการตระหนักรู้ ด้านการมองการณ์ไกล ด้านการมีจิตบริการ และด้านการรับฟัง ตามลำดับ และ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูต่อภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาพบว่า เพศ ระดับการศึกษาและประสบการณ์ทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ส่วนอายุและขนาดโรงเรียนในภาพรวมมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน แต่อายุในด้านการมุ่งมั่นพัฒนาบุคลากร และขนาดโรงเรียนในด้านการเห็นอกเห็นใจ มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กุลรัศมิ์ สิริกรวุฒิพงศ์. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการ ปฏิบัติงานของครูโรงเรียนในเครือสารสาสน์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เกรียงไกร ยิ่งยง และ เสาวนี สิริสุขศิลป์. (2559). ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศของโรงเรียนคาทอลิก สังกัดฆมณฑลนครราชสีมา. วารสารศึกษาศาสตร์. 27(1): 143-155.

ทิวากานต์ ศรีสวัสดิ์. (2558). ภาวะผู้นําแบบยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. วารสารศึกษาศาสตรมหาวิทยาลัยขอนแก่น. 38(4): 59-64.

พรพิพัฒน์ ตั้งจิตรวัฒนากุล และสุกัญญา แช่มช้อย. (2560). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบให้บริการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 23(1): 38-54.

อภิชาติ อนันตภักดิ์. (2558). ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. (2564). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2564. จาก https://nonedu2.net.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิก.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing (5thed.). New York: Harper and Collins.

Greenleaf, R. K. (2012). The servant leadership: A journey into the nature of legitimate Power and greatness. New York: Paulist Press

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-22