การพัฒนารูปแบบการสื่อสารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • ชชพล ชลิศราพงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • ปิยะนาถ บุญมีพิพิธ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

คำสำคัญ:

รูปแบบการสื่อสาร, การพัฒนาคุณภาพการศึกษา, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาตัวแปรการสื่อสารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา 2) ร่างรูปแบบการสื่อสารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา 3) ตรวจสอบรูปแบบการสื่อสารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา และ 4) ยืนยันรูปแบบการสื่อสารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้กระบวนการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย ร่วมกับการวิจัยเชิงอนาคต ผู้ให้ข้อมูลใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงกำหนดคุณสมบัติ ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 การสัมภาษณ์ เป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน กลุ่มที่ 2 กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 คน และกลุ่มที่ 3 ผู้ทรงคุณวุฒิในการยืนยันรูปแบบการสื่อสารฯ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  เป็นแบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม และแบบประเมินเพื่อยืนยันรูปแบบฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ฐานนิยม ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์

            ผลการวิจัย พบว่า

  1. ตัวแปรการสื่อสารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ที่สังเคราะห์ได้ จำนวน 183 ตัวแปร
  2.  ร่างรูปแบบการสื่อสารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ที่พัฒนาโดยผู้เชี่ยวชาญ 9 คน มีจำนวน 184 ตัวแปร 5 องค์ประกอบ คือ 1) ผู้ส่งสาร 2) สาร 3) ช่องทางการสื่อสาร 4) ผู้รับสาร และ 5) การบริหารการสื่อสาร
  3.  ตรวจสอบรูปแบบการสื่อสารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน มีความเห็น ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 ผู้ส่งสาร ประกอบด้วย 40 ตัวแปร มีค่าระหว่าง 3.71-4.94 ค่ามัธยฐาน ระหว่าง 3-5 ค่าฐานนิยม ระหว่าง 3-5 ค่ามัธยฐาน–ฐานนิยม มีค่าเท่ากับ 0 ค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ มีค่า 0-1 ความต้องการเป็นรูปแบบในระดับมากที่สุด จำนวน 29 ตัวแปร ระดับมาก จำนวน 11 ตัวแปร 3.2 องค์ประกอบที่ 2 สาร ประกอบด้วย 36 ตัวแปร มีค่าระหว่าง 3.88-5.00 ค่ามัธยฐาน ระหว่าง 3-5 ค่าฐานนิยม ระหว่าง 3-5 ค่ามัธยฐาน–ฐานนิยม มีค่าเท่ากับ 0 ค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ มีค่า 0-1 ความต้องการเป็นรูปแบบในระดับมากที่สุด จำนวน 24 ตัวแปร ระดับมาก จำนวน 12 ตัวแปร 3.3 องค์ประกอบที่ 3 ช่องทางการสื่อสาร ประกอบด้วย 30 ตัวแปร มีค่าระหว่าง 4.12-4.94 ค่ามัธยฐาน ระหว่าง 3-5 ค่าฐานนิยม ระหว่าง 3-5 ค่ามัธยฐาน–ฐานนิยม มีค่าเท่ากับ 0 ค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ มีค่า 0-1 ความต้องการเป็นรูปแบบในระดับมากที่สุด จำนวน 16 ตัวแปร ระดับมาก จำนวน 14 ตัวแปร 3.4 องค์ประกอบที่ 4 ผู้รับสาร ประกอบด้วย 31 ตัวแปร มีค่าระหว่าง 3.41-4.94 ค่ามัธยฐาน ระหว่าง 3-5 ค่าฐานนิยม ระหว่าง 3-5 ค่ามัธยฐาน–ฐานนิยม มีค่าเท่ากับ 0 ค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ มีค่า 0-1 ความต้องการเป็นรูปแบบในระดับมากที่สุด จำนวน 18 ตัวแปร ระดับมาก จำนวน 13 ตัวแปร 3.5 องค์ประกอบที่ 5 การบริหารการสื่อสาร ประกอบด้วย 41 ตัวแปร มีค่าระหว่าง 3.88-4.94 ค่ามัธยฐาน ระหว่าง 3-5 ค่าฐานนิยม ระหว่าง 3-5 ค่ามัธยฐาน–ฐานนิยม มีค่าเท่ากับ 0 ค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ มีค่า 0-1 ความต้องการเป็นรูปแบบในระดับมากที่สุด จำนวน 30 ตัวแปร ระดับมาก จำนวน 11 ตัวแปร 4. ยืนยันรูปแบบการสื่อสารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดย ผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน ยืนยันว่ามี 5 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 ผู้ส่งสาร องค์ประกอบที่ 2 สาร องค์ประกอบที่ 3 ช่องทางการสื่อสาร องค์ประกอบที่ 4 ผู้รับสาร และ องค์ประกอบที่ และ 5 การบริหารการสื่อสาร องค์ประกอบที่ 1 ผู้ส่งสาร (Sender) คิดเป็นร้อยละ ด้านความถูกต้อง เท่ากับ 88.86 ด้านความเหมาะสม เท่ากับ 80.56 ด้านความเป็นไปได้ เท่ากับ 83.89 และด้านการนำไปใช้ประโยชน์ เท่ากับ 81.64 องค์ประกอบที่ 2 สาร คิดเป็นร้อยละ ด้านความถูกต้อง เท่ากับ 92.59 ด้านความเหมาะสม เท่ากับ 77.16 ด้านความเป็นไปได้ เท่ากับ 83.95 และด้านการนำไปใช้ประโยชน์ เท่ากับ 79.74 องค์ประกอบที่ 3 ช่องทางการสื่อสาร คิดเป็นร้อยละ ด้านความถูกต้อง เท่ากับ 87.78 ด้านความเหมาะสม เท่ากับ 82.22 ด้านความเป็นไปได้ เท่ากับ 86.30 และด้านการนำไปใช้ประโยชน์ เท่ากับ 91.11 องค์ประกอบที่ 4 ผู้รับสาร คิดเป็นร้อยละ ด้านความถูกต้อง เท่ากับ 94.27 ด้านความเหมาะสม เท่ากับ 79.57 ด้านความเป็นไปได้ เท่ากับ 87.46 และด้านการนำไปใช้ประโยชน์ เท่ากับ 85.67 และ องค์ประกอบที่ 5 การบริหารการสื่อสาร คิดเป็นร้อยละ ด้านความถูกต้อง เท่ากับ 92.14 ด้านความเหมาะสม เท่ากับ 82.93 ด้านความเป็นไปได้ เท่ากับ 88.08 และด้านการนำไปใช้ประโยชน์ เท่ากับ 90.52

References

ชิรวัฒน์ นิจเนตร. (2560). การวิจัยพัฒนารูปแบบทางสังคมศาสตร์และการศึกษา. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 4(2).

ณัฐิกานต์ ปังศรีวงศ์. (2563). การพัฒนาทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนตลาดหนองหวาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2565 จาก http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/766

ธนัท สมณคุปต์. (2562). การสื่อสารผ่านสื่อดิจิทัลของวิสาหกิจชุมชน. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ECT Journal. 16: 11-22.

นพพล นพรัตน์. (2561). 5 ปัญหาการสื่อสารภายในองค์กร. ค้นหาเมื่อวันที่ มกราคม 23, 2565, จาก https://acrosswork.co.th/2018/10/.

แพมาลา วัฒนเสถียรสินธุ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาการสื่อสารในองค์กร กรณีศึกษา บริษัท ยูไนเต็ด แสตนดาร์ด เทอร์มินัล จำกัด (มหาชน). ปริญญานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิเชียร ทรงศรี. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ีการศึกษา ประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยนอร์ธกรุงเทพ.

สุปัญนา เจริญสุข. (2550). ปัญหาการสื่อสารระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชากรณีศึกษา: ข้าราชการสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 3. ค้นหาเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2565, จาก http://Google.com.

อมรรัตน์ จินดา. (2559). สภาพปัญหาและแนวทางส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาสำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. Veridian E Journal. 9(1).

Good, Carter V. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw–Hill Book Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30