การวิจัยเรื่อง การประเมินโครงการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพและอนามัยของนักเรียน โรงเรียนบ้านหนองแหน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุพรรณบุรี เขต 3

ผู้แต่ง

  • ประคอง รัศมีแก้ว ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ

คำสำคัญ:

การประเมินโครงการ, พฤติกรรมสุขภาพและอนามัยของนักเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์ ด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นของโครงการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ และอนามัยของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองแหน โดยแยกพิจารณาเป็น 2 กรณี คือ 1.1) ความสัมพันธ์เชิงตรรกะของความคาดหวังจากโครงการ 1.2) ความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ของสิ่งที่เกิดขึ้นจริงของโครงการ 2) ประเมินความสอดคล้องระหว่างความสัมพันธ์เชิงตรรกะของความคาดหวังจากโครงการ และความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ของสิ่งที่เกิดขึ้นจริงของโครงการในด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นของโครงการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ และอนามัยของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองแหน และ 3) ประเมินการตัดสินใจในด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และ ด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นของโครงการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ และอนามัยของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองแหน เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์สัมบูรณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน

ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินความสัมพันธ์ระหว่างด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น ของโครงการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพและอนามัยของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองแหน แยกเป็น 2 กรณี ได้แก่ ความสัมพันธ์เชิงตรรกะของสิ่งที่คาดหวังจากโครงการ  ในด้านสิ่งนำ ด้านการปฏิบัติและด้านผลที่ตามมาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ของสิ่งที่เกิดขึ้นจริงของโครงการ ในด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ  และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความสอดคล้องระหว่างความสัมพันธ์เชิงตรรกะของความคาดหวังจากโครงการในด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ของสิ่งที่เกิดขึ้นจริงของโครงการในด้านสิ่งนำ ด้านการปฏิบัติ และด้านผลที่ตามมา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผลการตัดสินใจใช้ข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองแหน ในด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นผ่านเกณฑ์การประเมินตามเกณฑ์สัมบูรณ์ทุกด้าน อยู่ในระดับมาก (ช่วงเกณฑ์ 71.00-73.00) ตามเกณฑ์ที่ผู้ทรงคุณวุฒิกำหนดไว้ที่ร้อยละ 75 ขึ้นไป

References

ต่อตระกูล พรมนุ่น. (2559). รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมอัตลักษณ์ของสถานศึกษาโรงเรียนกะทู้วิทยา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14. ภูเก็ต : สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14.

นันทา อ่วมกุล. (2558). คู่มือการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ พ.ศ.2558. นนทบุรี : สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

ประภาเพ็ญ สุวรรณและคณะ. (2542). การวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อการวางแผนงานส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2562). เทคนิคการประเมินโครงการ แนวคิดและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพมหานคร : บริษัทเฮ้าส์ออฟเคอร์ มิสท์.

รัชนีวรรณ ทองคำ. (2561). รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนด้วยสุขบัญญัติ 10 ประการของนักเรียน โรงเรียนวัดปากน้ำ. สุพรรณบุรี : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3.

ศรัณยู นิติศิริ. (2561). รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ “สุขกายสบายชีวี” โรงเรียนวัดท่าทอง. สุพรรณบุรี : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3.

ส.สมบัติ มีสุนทร. (2556). รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาปีการศึกษา 2555-2556 ของโรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. นครศรีธรรมราช: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12.

สกุณา บุญนรากร. (2555). การสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวมทุกช่วงวัย. พิมพ์ครั้งที่ 5. สงขลา : เทมการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2550). พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550. นนทบุรี : สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.

สำนักโภชนาการ. (2559). ภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัยไทย. นนทบุรี : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

Pender NJ. et al. (1990). Health promoting in nursing practice. New York: Appleton Century Crofts.

Stake, Robert E. (1967). Evaluation the Arts in Educational: A Responsive Approach. Columbus, Ohio: Charles E. Merrill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30