ความสัมพันธ์ระหว่างแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชน จังหวัดสมุทรสาคร
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำ, ผู้บริหาร, แรงจูงใจบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนเอกชน ในจังหวัดสมุทรสาคร 2) ศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสมุทรสาครและ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างเป็นคือครูโรงเรียนเอกชน จังหวัดสมุทรสาคร 233 คน เครื่องมือคือแบบสอบถามมีค่าความตรง 0.67-1.00 ค่าความเที่ยง 0.979 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า
- ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนเอกชน ใน จังหวัดสมุทรสาครโดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ แบบมุ่งทำงานเป็นทีม รองลงมา คือ แบบมุ่งงานสูง แบบมุ่งคนสูง แบบมุ่งทางสายกลาง ส่วนแบบมุ่งงานต่ำ-คนต่ำ อยู่ในระดับปานกลาง
- 2. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชน จังหวัดสมุทรสาครโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยจูงใจ ค่าเฉลี่ยรายด้านสูงสุด คือ ด้านความรับผิดชอบ รองลงมา คือ ด้านความสำเร็จของงาน ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ ด้านการยอมรับนับถือ และด้านความก้าวหน้าในการทำงาน ตามลำดับ ส่วนปัจจัยค้ำจุน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านนโยบายการบริหารงาน รองลงมา คือ ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านความมั่นคงปลอดภัยในการทำงาน ด้านค่าตอบแทน ตามลำดับ
3. ความสัมพันธ์แบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชนใน จังหวัดสมุทรสาคร พบว่า ความสัมพันธ์ระดับสูงโดยมีความสัมพันธ์สูงสุด คือแบบมุ่งทางสายกลางกับด้านนโยบายการบริหารงาน รองลงมาคือแบบมุ่งงานสูง แบบมุ่งทำงานเป็นทีมและแบบมุ่งคนสูงกับด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน แบบมุ่งคนสูงและแบบมุ่งทำงานเป็นทีมกับด้านนโยบายการการบริหารงาน นอกนั้นมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง อยู่ระดับปานกลาง ยกเว้น แบบมุ่งงานต่ำ-คนต่ำที่สัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำกับด้านความก้าวหน้าในการทำงาน
References
ดลฤดี เกตุรุ่ง. (2556). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างแรงจูงใจในการทำงานกับความผูกพันองค์การ ของครูในโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษา
นวรัตน์ อายุยืน. (2561). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของครู สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎรําไพพรรณี.
ปณตนนท์ เถียรประภากุล. (2565). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการศึกษา 4.0. สืบค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2565. จากhttps://he02.tcithaijo.org /index.php/Veridian-E-Journal/article/view/143779
ศิริรัตน์ ทองมีศรี. (2559). ปัจจัยด้านคุณลักษณะผู้บริหาร ลักษณะงานของครู และแรงจูงใจในการทำงานของครูที่ส่งผลต่อคุณภาพการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชน. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สรัสยา ผลสุกบริสุทธิ์. (2562). การใช้แรงจูงใจของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูและ บุคลากรทางการศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎรําไพพรรณี.
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานการวิจัยเพื่อจัดทําข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาการศึกษาเพื่อสร้าง ความเป็นพลเมือง. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2561. จาก http://www.thaiedresearch.org/index.php/home/ paperview/35/?
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวาน กราฟฟิคจํากัด.
อรทัย มูลคํา. (2560). ข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาโรงเรียนดีประจําตําบลสู่โรงเรียนทํามาหากินสมัยใหม่ เพื่อสร้างคน สร้างงาน สร้างชาติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.
Boonrod Lueamngam. (2017). Strategies for managing private schools. According to the philosophy of sufficiency economy to be effective Under the Office of Nong Khai Primary Educational Service Area, Area 1. Doctor of Philosophy Thesis The field of educational administration Faculty of Education: Northeastern University.
Business Jargon. (2022). Blake and Mouton’s Managerial Grid. Retrieved 19 May 2022. from https://businessjargons.com/blake-moutons-managerial-grid.html.
Hedberg, B. (1981). How Organizations Learn and Unlearn, in Nystrom, P.C. and Starbuck, W.H. (Eds.). Handbook of Organizational Design. Oxford University Press, New York.
Herzberg, Ferderick et al. (1959). The motivation to work. New York : John Wiley and Sons.
Kingkaew Srilaleekulrat. (2015). Strategic leadership. Retrieved 19 November 2015. from : http://gotoknow.0rg/blog/kingkaew_aems /206245.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว