แนวทางการบริหารสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของสำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมการศึกษาเอกชน
คำสำคัญ:
นวัตกรรม, การบริหาร, องค์กรนวัตกรรมบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการบริหารสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 267 คน กลุ่มตัวอย่างใช้การกำหนดขนาดตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน ได้จำนวน 159 คน การสุ่มตัวอย่างเป็นการสุ่มแบบชั้นภูมิ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ในการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น โดยคำนวณค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ในการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 5 คน คัดเลือกแบบเจาะจงและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันในการบริหารสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ลำดับความต้องการจำเป็นในการบริหารสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จัดลําดับความสําคัญ 3 ลําดับ ได้ดังนี้ ลำดับที่ 1 ด้านการพัฒนาบุคลากร ลำดับที่ 2 ด้านการจัดการความรู้และการสื่อสาร และลำดับที่ 3 ด้านค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร 3. แนวทางการบริหารสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม ควรให้ความสำคัญกับ 3 ประเด็น ดังนี้ 1) ด้านการพัฒนาบุคลากร โดยบุคลากรต้องเปลี่ยนกระบวนการคิดในการทำงาน ให้มีความคิดเชิงบวกในการสร้างสรรค์นวัตกรรม และหน่วยงานให้การส่งเสริม สนับสนุนการเรียนรู้ของบุคลากร 2) ด้านการจัดการความรู้และการสื่อสาร องค์กรมีฐานข้อมูลองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการทำงานที่มีความเป็นปัจจุบัน ถูกต้อง และสามารถนำไปปฏิบัติในการทำงานได้จริง โดยใช้เทคโนโลยีช่วยในการจัดเก็บรวบรวม เผยแพร่ สร้างช่องทางการติดต่อสื่อสารภายในองค์กรไว้อย่างชัดเจนและมีความรวดเร็วทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน 3) ด้านค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร องค์กรมีการสื่อสารระหว่างบุคลากรในหน่วยงานถึงวัตถุประสงค์ เป้าหมายในการทำงาน เพื่อสร้างการรับรู้สร้างกระบวนการเรียนรู้ ให้บุคลากรเห็นถึงความสำคัญของนวัตกรรมในการพัฒนางาน
References
กรกต ขาวสะอาด. (2564). การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อการเป็นองค์การนวัตกรรมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
ขวัญชนก แสงท่านั่ง. (2563). รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์กรแห่งนวัตกรรม สำหรับ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 5(7): 153-168.
เทพรัตน์ พิมลเสถียร. (2560). นวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ธนัสถา โรจนตระกูล. (2563). การพัฒนารูปแบบการเป็นองค์การแห่งนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในประเทศไทย. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 3(2): 1-17.
ธนิสร บุญโชติ. (2564). VUCA ในโลกการทำงานสมัยใหม่: 4 เทคนิครับมือความไม่แน่นอนสำหรับผู้นำยุคใหม่. สืบค้น 24 มกราคม 2565, จากhttps://th.hrnote.asia/orgdevelopment/vuca-for-leader-in-future-work-03032021/
นันทวัน แก้วปาน. (2563). แนวทางการพัฒนาความเป็นองค์การนวัตกรรมของสำนักงานขนส่งจังหวัดในเขตภาคกลางตอนล่าง. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
สินีนุช ศิริวงศ์. (2560). วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ:การเดินทางสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม. สืบค้นเมื่อ มกราคม 27, 2565, จาก https://he01.tci-thaijo.org/ index.php/nmdjournal/ article/view/115966/89401.
นิศาชล ฉัตรทอง. (2561). บริบทภาครัฐไทยกับการก้าวเข้าสู่องค์กรแห่งนวัตกรรม. สืบค้น 27 มกราคม 2565, จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/oarit/article/download/137488 /102336/
นำพล ม่วงอวยพร. (2561). การขับเคลื่อนนวัตกรรมในองค์กรภาครัฐ (M.P.A , D.P.A.). สืบค้น 27 มกราคม 2565, จาก http://rcim.rmutr.ac.th/?p=11572
ปานชนก ด้วงอุดม. (2562). การศึกษาสภาพการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 2. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. อยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
มรกต จันทร์กระพ้อ. (2562). การสร้างองค์การแห่งนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนสู่ความเป็นเลิศขององค์การ. วารสารนักบริหาร. 39(1): 52-66.
วัฒนชัย ศิริญาณ. (2560). รูปแบบที่ส่งเสริมให้เกิดองค์กรแห่งนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 9(1): 111-124.
สุภาภรณ์ เหล่าศรีรัตนา. (2564). แนวทางการพัฒนาความเป็นองค์การนวัตกรรมของศาลยุติธรรมในสังกัดสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 7. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
สรนาถ รัตนโรจน์มงคล. (2560). อนาคตของการทำงาน สิ่งที่องค์กรควรเตรียมรับมือ. สืบค้น 23 มกราคม 2565, จาก https://www.marketingoops.com/news/biz-news/future- of-workplace/
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560–2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2562). การจัดการสู่องค์กรนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน).
สำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล สำนักงาน ก.พ. (2560). รายงานสถานภาพการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือน ปีงบประมาณ 2559. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
Aboramadan, M., Albashiti, B., Alharazin, H. and Zaidoune, S. (2020). Organizational culture, innovation and performance: a study from a non-western context. Journal of management Development. 39(4): 437-451.
Higgins, J.M. (1995). Innovate or evaporate: Test & improve your organization’s IQ – Its innovation quotient. New York: New Management.
Riveras-León, J. C. & Tomàs-Folch, M. (2020). The Organizational Culture of Innovative Schools: The Role of the Principal. Journal of Educational Sciences. 2(42): 21-37.
Sherwood, D. (2001). Smart things to know about innovation & creativity. Oxford: Capstone.
Tidd, J., Bessant, J., & Pavitt, K. (2001). Managing innovation: Integrating technological market and organizational change. Chicester: Wiley.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว